Thursday, December 31, 2009

ข้าวกล้องลดเสี่ยงความดันเลือดสูง [EN]

ข้าวกล้องลดเสี่ยงความดันเลือดสูง [EN]

การศึกษา ก่อนหน้านี้พบ ธัญพืชไม่ขัดสี (whole grains) ลดเสี่ยงความดันเลือดสูงในผู้หญิง, การศึกษาใหม่พบ ธัญพืชไม่ขัดสีลดเสี่ยงความดันเลือดสูงในผู้ชายเช่นกัน [ St. Lourdes Health ]

...

การศึกษา ทำใน กลุ่มตัวอย่างผู้ชายกว่า 31,000 คน ติดตามไป 18 ปี พบว่า ผู้ชายที่กินธัญพืชไม่ขัดสีมากที่สุดเป็นโรคความดันเลือดสูงน้อยกว่าผู้ชาย ที่กินน้อยที่สุด

อ.ดร.แก รี เบิร์ค ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ แห่งศูนย์การแพทย์ลอร์เดสกล่าวว่า 1/3 ของผู้ใหญ่มีโอกาสเป็นโรคความดันเืลือดสูง (ความดันเลือดสูงกว่า 140/90) ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจ สโตรค (stroke = กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต), ไตเสื่อมสภาพ, ไตวาย และโรคภัยไข้เจ็บอีกหลายอย่าง

...

กลไกที่ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท (เติมรำ), ข้าวโอ๊ต, ปอปคอร์น ฯลฯ ลดเสี่ยงโรคความดันเลือดสูงได้แก่

(1). มี เส้นใย (ไฟเบอร์) สูงกว่า ทำให้เกิดความรู้สึกอิ่ม (feeling of fullness) ได้มากกว่าข้าวขาว-แป้งขัดสี ทำให้ลดเสี่ยงอ้วน และน้ำหนักเกิน

(2). มีแร่ธาตุดีๆ เช่น แมกนีเซียม โพแทสเซียม ฯลฯ, วิตามิน, สารพฤกษเคมี (สารคุณค่าพืชผัก) สูง

...

รัฐบาลกลางสหรัฐฯ แนะนำให้คนอเมริกันกินธัญพืชไม่ขัดสีอย่างน้อยวันละ 3 ส่วนบริโภค

1 ส่วนบริโภคเทียบเท่าข้าวกล้อง 1 ทัพพีเล็ก (= 1/2 ถ้วยมาตรฐาน = 120 กรัม), ขนมปังโฮลวีท 1 แผ่น, ข้าวโอ๊ตสุก 1/2 ถ้วยมาตรฐาน = 120 กรัม

...

อาหารที่ ช่วย ลดเสี่ยงความดันเลือด (DASH) ได้แก่ อาหารที่มีผลไม้ทั้งผล (ไม่ใช่น้ำผลไม้กรองกาก), ผัก, ธัญพืชไม่ขัดสี, ปลา, สัตว์ปีก เช่น ไก่ ฯลฯ, นัท (เมล็ดพืชเปลือกแข็ง กระเทาะเปลือก เช่น อัลมอนด์ ฯลฯ), ถั่ว-พืชตระกูลถั่ว, และนมไขมันต่ำ-นมไม่มีไขมันพอประมาณ

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา

ต้นฉบับเรื่องนี้คือ 'Men: Unlock the secrets of whole grains' = "ผู้ชาย (หมายถึงสุขภาพผู้ชาย): ปลดล็อค (un- = ไม่; lock = ล็อค ปิด; unlock = ปลดล็อค ไขกุญแจ เปิดโปง เปิดเผย เปิดความลับ) ความลับ (secret = ความลับ) ของธัญพืชไม่ขัดสี (whole = ; grain = เมล็ดพืช; whole grain = ธัญพืชไม่ขัดสีั ซึ่งมีรำข้าว และจมูกข้าว)"

...

คลิกลิ้งค์ > คลิกลำโพง-ธงชาติ > ฟัง-ออกเสียงตามเจ้าของภาษา 3 รอบ เพื่อให้จำศัพท์ได้ถูกต้องและเร็ว

ย้ำเสียงหนัก (accent) ที่พยางค์แต้มสี กรณีมีตำแหน่งย้ำเสียง 2 ตำแหน่ง, ตำแหน่งที่ย้ำเสียงหนักกว่า คือ พยางค์ที่ใช้ตัวอักษรตัวหนา

...

@ [ unlock ] > [ อั่น - ลอค - k ] > http://www.thefreedictionary.com/unlock > verb = ไขกุญแจ เปิดเผย เปิดโปง ปลดล็อค

@ [ secret ] >[ ซี่ - เขร็ท - t ] > http://www.thefreedictionary.com/secret > noun = ความลับ เคล็ดลับ

...

ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่มา

  • Thank St. Lourdes Health > Men: Unlock the secrets of whole grains. December 2009. / Source > Am J Clinical Nutrition. & www.health.gov/DietaryGuidelines
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. > 23 ธันวาคม 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมวดหมู่: การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: พ. 23 ธ.ค. 2552 @ 20:50 แก้ไข: พ. 23 ธ.ค. 2552 @ 20:50

ความเห็น

ไม่มีความเห็น
ชื่อ: นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
อีเมล: frxbaby@yahoo.com
IP แอดเดรส: 119.31.14.215

Tuesday, December 29, 2009

ว่าด้วยเรื่อง "สุวคนธบำบัด"

ว่าด้วยเรื่อง "สุวคนธบำบัด"

สุวคนธบำบัด (Aromatherapy)

ใน ปัจจุบันมนุษย์เริ่มหันมาเอาใจใส่ต่อสุขภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะวิธีใดที่ทำให้สุขภาพกาย สุขภาพใจดี จะแสวงหามาสู่ตนเองเสมอ ปรกอบกับกระแสความนิยมในการกลับสู่ธรรมชาติมีมากขึ้น คนเราจึงพยายามปรับตัวเองเข้าสู่ธรรมชาติให้มากที่สุด สุวคนธบำบัดหรือ Aromatherapy เป็นวิธีการรักษาอีกทางเลือกหนึ่งที่นำพืชหรอสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมมาใช้ ประโยชน์ในการรักษาทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ที่จริงแล้วสุวคนธบำบัดมีการใช้กันมานานและหยุดความนิยมลงช่วงหนึ่งก่อนที่ จะกลับมาได้รับความนิยมสนใจอีกครั้งในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา

Aromatherapy มาจากคำว่า Aroma ซึ่งแปลว่า กลิ่นหอม และ therapy หมายถึงการบำบัดรักษา Aromatherapy หรือ สุวคนธบำบัด จึงหมายถึง การบำบัดรักษาด้วยกลิ่นหอม โดยที่กลิ่นหอมนี้ส่วนใหญ่ได้จากน้ำมันหอมระเหย (essential oil) ที่สกัดได้จากส่วนต่างๆของพืชเช่น จาก ดอก ใบ ราก ผล เปลือกไม้ ยางไม้ หรือเรซิน เป็นต้น อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือได้ว่าสุวคนธบำบัด สามารถรักษาโรคต่างๆได้จริง เมื่อเทียบกับการรักษาด้วยยา แต่อาจส่งผลทางด้านจิตใจซึ่งไปมีผลกระทบต่อระบบการทำงานของร่างกายได้ไม่มาก ก็น้อย
ประวัติความเป็นมา

ชาวอียิปต์เป็นชาติแรกที่รู้จักนำ เครื่องหอมมาใช้ประโยชน์ ส่วนใหญ่ใช้ในพิธีบูชาเทพเจ้า โดยการนำยางไม้หรือเรซินที่มีกลิ่นหอม ได้แก่ แฟรงคินเซนต์ (frankincense) มาเผาเพื่อบูชาเทพเจ้าแห่งอาทิตย์ (Ra) และนำเมอร์ (myrrh) มาเผาเพื่อบูชาเทพเจ้าแห่งพระจันทร์ และพบว่ามีการนำพืชหอมหลายชนิดมาในการเก็บรักษามัมมี่ เช่น อบเชย (cinnamon) เทียนข้าวเปลือก (dill seed) โหระพา (sweet basil) ลูกผักชี (coriander seed) ซึ่งพืชเหล่านี้มีน้ำมันหอมระเหยที่มีคุณสมบัติ ในการฆ่าเชื่อโรคได้ดี ต่อมาชาวกรีกได้นำน้ำมันหอมระเหยมาประยุกต์ใช้ทั้งทางด้านการแพทย์ และเครื่องสำอาง แล้ถ่ายทอดศาสตร์แห่งการใช้กลิ่นบำบัดรักษาโรคแก่ชาวโรมัน ต่อมาชาวโรมันจึงได้นำเครื่องหอมไปใช้ในชีวิตประจำวันและในพิธีกรรม และพัฒนาความรู้นี้ผสมผสานเข้ากับศาสตร์แขนงอื่น เช่น การนวด โดยผสมเครื่องหอมลงในน้ำมันสำหรับทาตัว และนวดตัวหลังอาบน้ำ ผสมเครื่องหอม ลงในอ่างน้ำ ฯลฯ และเมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลายจึงทำให้ไม่มีการใช้น้ำมันหอมระเหยอีก แต่พบหลักฐานว่ามีการนำน้ำมันหอมระเหยมาใช้รักษาโรค ในประเทศแถบอาหรับ อริโซน่า หมอชาวอาหรับ เป็นผู้ค้นพบวิธีการกลั่นน้ำมันหอมระเหยเป็นครั้งแรก และนำหลักการนี้ไปสอนในมหาวิทยาลัยในประเทศสเปน ความรู้ทางด้านน้ำมันหอมระเหยจึงได้แพร่มาสูยุโรป ต่อมา ราเนอ โมริซ กาทฟอส (Rane Maurice Gattefosse) นักเคมีชาวฝรั่งเศสได้ค้นพบประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยโดยบังเอิญ โดยที่ขณะเขาทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ เกิดอุบัติเหตุไฟลวกมือ ด้วยความตกใจจึงเอามือไปปัดถูกขวดน้ำมันลาเวนเดอร์ทำให้น้ำมันลาเวนเดอร์หด รดมือที่ถูกไฟลวกนั้น เขาได้พบว่าแผลไฟลวกที่มือนั้นหายเร็วกว่าปกติ และมีรอยแผลเป็นน้อยมาก จากนั้นเขาจึงเริ่มกันมาสนใจค้นคว้าเกี่ยวกับน้ำมันหอมระเหยชนิดอื่นๆเพิ่ม เติมทั้งประโยชน์ทางด้านการแพทย์และเครื่องสำอางและเป็นผู้บัญญัติศัพท์คำ ว่า Aromatherapy เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1928

ประเภทของสุวคนธบำบัด

สุวคนธบำบัด สามารถแบ่งตามการนำไปใช้ได้ดังนี้

  1. สุว คนธบำบัดสำหรับใช้เป็นเครื่องสำอาง (Cosmetic Aromatherapy) เป็นการใช้น้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในรูปของ ครีมบำรุงผิว โทนเนอร์ แชมพู ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า หรือจะเป็นการใช้น้ำมันหอมระเหยในการอาบน้ำ โดยหยดน้ำมันหอมระเหยประมาณ 6-8 หยดลงในอ่างแช่ตัวประมาณ 20 นาที ความร้อนจากน้ำอุ่นจะช่วยเพิ่มการซึมผ่านผิวหนังและได้สูดดมกลิ่นของน้ำมัน หอมระเหยในขณะเดียวกัน
  2. สุวคนธบำบัดสำหรับการนวด (Massage Aromatherapy) เป็นการนำน้ำมันหอมระเหยมาใช้ในการนวด วิธีนี้เป็นวิธีมีประสิทธิภาพมากเพราะเป็นการใช้น้ำมันหอมระเหยประกอบกับการ นวดสัมผัสทำให้น้ำมันหอมระเหยซึมผ่านผิวหนังได้ดี ปกติแล้วการนวดเพียงอย่างเดียวก็ทำให้เรารู้สึกสบายแล้ว เมื่อได้ผสมผสานกับคุณสมบัติพิเศษของน้ำมันหอมระเหยด้วยแล้ว ยิ่งทำให้การนวดนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วิธีการใช้ก็คือน้ำมันหอมระเหยที่เลือกให้เหมาะกับอาการและอารมณ์ของคนไข้มา เจือจางด้วย carrier oil ปริมาณหอมระเหยที่ใช้จะอยู่ระหว่าง 1-3 % การนวดอาจจะนวดทั้งตัวหรือเฉพาะส่วนของร่างกายที่ทำให้ไม่สบาย เช่น การใช้น้ำมันสะระแหน่ที่เจือจางแล้วนวดท้องตาม
  3. สุวคนธบำบัด สำหรับการสูดดม (Olfactory Aromatherapy) เป็นการสูดดมกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยโดยไม่มีการสัมผัสผ่านผิวหนัง แบ่งเป็น 2 กรณีคือการสูดดมน้ำมันหอมระเหยโดยตรง (Inhalation) และการผสมน้ำมันหอมระเหยลงในน้ำร้อนแล้วสูดไอของน้ำมันหอมระเหยนั้น (Vaporization) วิธีการสูดน้ำมันหอมระเหยโดยตรง สามารถทำได้ง่ายๆก็คือ หยดน้ำสมันหอมระเหย 1-2 หยดลงบนผ้าเช็ดหน้า แล้วสูดดมเช่นเดียวกับที่คนไทยนิยมสูดดมน้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันการบูรเพื่อบรรเทาอาการหวัด ส่วนวิธีสูดดมไอของน้ำมันหอมระเหยนั้นทำได้หลายวิธีเช่น หยดน้ำมันหอมระเหย 2-3 หยดลงในชามที่ใส่น้ำอุ่น ใช้ผ้าคลุมศีรษะและชามแล้วก้มลงสูดดมไอระเหยนั้น พักเป็นระยะๆ วิธีไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีผิวบอบบาง และผู้ที่เป็นหอบหืด หรืออีกวิธีหนึ่งอาจใช้เตาหอม (aroma lamp) ลักษณะเป็นภาชนะดินเผาหรือเซรามิค ด้านบนเป็นแอ่งเล็กๆสำหรับในใส่น้ำและมีช่องด้านล่างสำหรับใส่เทียนเพื่อให้ ความร้อน เวลาใช้หยดน้ำมันหอมระเหยลงในน้ำ เมื่อน้ำร้อนจะช่วยส่งกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยให้ฟุ้งกระจายไปทั่งห้อง นอกจากนี้ยังมีวิธีการใช้ในรูปแบบอื่นๆอีก เช่น ธูปหอม เทียนหอม เป็นต้น

ข้อแนะนำถึงวิธีการใช้น้ำมันหอมระเหยทางสุวคนธบำบัด แบ่งออกเป็น 6 วิธี

วิธี ที่ 1 โดยการใช้น้ำมันหอมระเหยผสมกับน้ำ แช่ตัวในอ่างอาบน้ำ วิธีนี้ให้เติมน้ำมันหอมระเหยลงในน้ำอุ่น ที่รองเก็บไว้ในอ่างอาบน้ำ หลังจากนั้นก็กวนให้เข้ากัน ปิดประตูห้องน้ำให้สนิท เพื่อป้องกันไม่ให้กลิ่นระเหยออกไป หลังจากนั้นก็ลงไปแช่ตัวในอ่างอาบน้ำประมาณ 10 นาที พร้อมกันนั้นให้หายใจลึกเพื่อสูดกลิ่นหอมนั้นเข้าไป

วิธีที่ 2 ใช้ในเวลาโดยการตักอาบ หรืออาบจากฝักบัว : วิธีนี้ให้ใช้หยดหรือเทน้ำมันหอมระเหยลงบนผ้า หรือฟองน้ำ หรือลูกบวบที่ใช้ถูตัว ที่เปียกน้ำหมาดๆแล้วถูตัวหลังจากอาบน้ำสะอาดแล้ว

วิธี ที่ 3 ใช้ในการนวดตัว (body massage) : วิธีใช้ นำน้ำมันหอมระเหยที่ผสมกับ base oils (น้ำมัน) เรียบร้อยแล้วมานวดตัว บริเวณที่นวดกันมากได้แก่บริเวณรอบคอ หัวไหล่ วิธีนวดให้ใช้หัวแม่มือ หรือ ฝ่ามือทั้งสองข้าง นวดจากไหล่ไปคอ แล้ววนกลับมาที่บริเวณแขนหรือที่บริเวณหลัง โดยให้หลีกเลี่ยงการนวดบนสันหลัง ให้นวดพร้อมกันทั้งมือ นวดขึ้นไปถึงหัวไหล่ และกดลงมา การนวดบริเวณหน้าท้อง ใช้ฝ่ามือนวดหมุนตามเข็มนาฬิกา การนวดบริเวณขา และเท้าให้นวดจากต้นขาลงถึงเท้า สำหรับสตรีที่ปวดหลังให้นวดจากด้านหลังแล้วอ้อมมาที่สะโพกมายังหน้าท้อง หรือควรจะปรึกษานักกายภาพบำบัด

วิธีที่ 4 การประคบเย็น (Compressed) : ผสมน้ำมันหอมระเหยลงในตัวนำพา ที่เป็นน้ำสะอาดหรือน้ำมันดอกไม้ที่แช่เย็น หลังจากนั้นกวนให้เข้ากัน ใช้ผ้าจุ่มลงไปในน้ำบิดให้หมาดๆแล้วจึงนำมาประกบตามจุดที่ต้องการ

วิธี ที่ 5 การสูดดม (Inhalation) : ห้ามสูดดมโดยตรงจากขวดหรือภาชนะที่บรรจุน้ำมันหอมระเหย เพราะจะทำเกิดอต่อระบบทางเดินหายใจ ต้องนำไปผสมให้เจือจางเสียก่อน

วิธีที่จะสูดดมมี 2 วิธีด้วยกันคือ

  • ให้หยดน้ำมันลงบนกระดาษทิชชู หรือ ผ้าเช็ดหน้า จำนวน 1 หยด แล้วจึงนำมาสูดดม
  • ถ้านำมาผสมกับ base oils เรียบร้อยแล้วก็สามารถสูดดมได้โดยตรง หรือจะหยดลงบนผ้าเช็ดหน้าก็ได้แต่จะทำให้ผ้าเช็ดหน้าเปื้อนมัน

วิธี ที่ 6 การพ่นละอองฝอยในห้อง (Room sprays) : น้ำมันหอมระเหยมาผสมกับน้ำอุ่นๆไม่เกิน 40 เซลเซียส เขย่าให้เข้ากัน แล้วนำมาบรรจุในภาชนะที่มีหัวฉีดพ่นละออง แล้วนำมาพ่นตามความต้องการ

เอกสารอ้างอิง
1. ลลิตา วีระเสถียร.2541.การบำบัดด้วยความหอม .ศรีนครินทรวิโรฒเภสัชสาร.2541;23(1):52-57
2. พิมพร ลีลาพรพิสิฐ.2545.สุวคนธบำบัด.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. ประคองสิริ บุญคง.สุวคนธบำบัด.ส่วนวิจัยอุตสาหกรรมเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ องค์การเภสัชกรรม
4. http://www.gpo.or.th/rdi/html/aroma2.html
5. http://www.tistr.or.th/pharma/Aroma_intro.htm
6. http://www.tistr.or.th/pharma/Aroma_class.htm
7. http://healthnet.md.chula.ac.th/text/forum2/sukon/sukontha_2.htm

สำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ
กรมวิทยาศาสตร์บริการ
โทร 0 2201 7132
e-mail : kijtasak@dss.go.th
พฤษภาคม 2551

: กาย
: บทความ
: สุขภาพดี
: สุวคนธบำบัด
พรรณภัทร 04 พ.ย. 2552 04 พ.ย. 2552
ความคิดเห็น (4)

ผมชอบกลิ่นน้ำปรุงครับ หอมดี เป็นน้ำหอมจากภูมิปัญญาไทย ปลอดภัยแน่นอนครับ

Natthapol 04 พฤศจิกายน 2552 - 14:14 (#435)

ชอบกลิ่นหญ้าค่ะ
โดยเฉพาะเวลาที่เขาตัดหญ้า
กลิ่นมันสดชื่นบอกไม่ถูก

กุ้งนาง (202.12.73.5) 04 พฤศจิกายน 2552 - 17:09 (#436)

ดีน่ะที่กลิ่นหญ้า ถ้าชอบกินหญ้า เนี่ยฮาเลย

ชินภัช (61.19.67.36) 05 พฤศจิกายน 2552 - 09:13 (#440)

อย่างนี้ต้องไปสปาบ้างแล้วละ :D

ิวิว (222.123.182.185) 10 พฤศจิกายน 2552 - 16:17 (#468)

อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

มะระ

ในมะระมีสารอินซูลินจากธรรมชาติ หากนำมาคั้นรับประทานวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

อบเชย

สามารถ ช่วยเพิ่มการเผาผลาญกลูโคสในผู้ป่วยเบาหวานได้ การรับประทานอบเชยวันละครึ่งช้อนชา จะช่วยป้องกันอันตรายจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง นอกจากนั้นการดื่มน้ำชาที่แช่ด้วยอบเชย ยังช่วยในเรื่องของการควบคุมน้ำตาลอีกด้วย

ลูกซัค

เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง รับประทานผงลูกซัค 3 กรัมต่อวัน จะช่วยควบคุมโรคเบาหวานได้

ส้มโอ

รับประทานส้มโอ วันละ 3 ผล ดีต่อสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานเช่นกัน

แอมลา

คั้นน้ำจากผลแอมลา ผสมกับน้ำมะระ ติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือน สามารถช่วยป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้

ยิมเนมา

เป็นพืชทางด้านอายุรเวชชนิดหนึ่ง ผู้เชี่ยวชาญแนะให้ผู้ป่วยเบาหวาน รับประทานวันละ 4 กรัมต่อวัน

เมล็ดจามุน หรือ แบล็คเบอร์รี่อินเดีย

การรับประทาน ควรรับประทานครั้งละ 1/4 ช้อนชาผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา

กระเทียมดิบ

ปริมาณที่เหมาะสมคือ 4 กรัม จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

เมล็ดสะเดา

วิธีการรับประทาน ควรทานผงเมล็ดสะเดาครั้งละหยิบมือ

น้ำส้มสายชู

งาน วิจัยหลายชิ้น กว่าวว่า น้ำส้มสายชูสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ หากรับประทานก่อนอาหาร จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลอันเกิดจากแป้งที่รับประทานได้ ควรทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะก่อนอาหาร หรืออาจผสมลงในน้ำสลัดก็ได้

อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารใด ๆ ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

ที่มา thehealthfitness

: กาย
: ข่าว
: สุขภาพดี
อัมพวรรณ 29 ธ.ค. 2552 29 ธ.ค. 2552

พุทธวิธีการรักษาโรคด้วยโพชฌงค์ : ผลแห่งการปฏิบัติหรือมหัศจรรย์แห่งมนต์คาถา (ตอนที่ ๒)

อ่าน: 38
ความเห็น: 5

พุทธวิธีการรักษาโรคด้วยโพชฌงค์ : ผลแห่งการปฏิบัติหรือมหัศจรรย์แห่งมนต์คาถา (ตอนที่ ๒)

“ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” (อาโรคฺยปรมา ลาภา)

พุทธวิธีการรักษาโรคด้วยโพชฌงค์ : ผลแห่งการปฏิบัติหรือมหัศจรรย์แห่งมนต์คาถา (ตอนที่ ๒) [1]

โพชฌงค์เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคอย่างไร

๑. โพชฌงค์ในทัศนะเป็นผลแห่งการปฏิบัติ

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)[8] ได้กล่าวไว้ว่า หลักโพชฌงค์เป็นหลักปฏิบัติทั่วไป ไม่เฉพาะสำหรับผู้ป่วยเท่านั้น ถ้าวิเคราะห์ดูความหมายของศัพท์ก็จะเห็นว่า "โพชฌงค์" มาจากคำว่า โพชฺฌ กับ องฺค หรือ โพธิ กับ องค์ จึง แปลว่า องค์แห่งการตรัสรู้ พูดตามศัพท์ก็คือ องค์แห่งโพธิ (ญาณ) นั่นเอง หมายถึงองค์ประกอบ หรือหลักธรรมที่เป็นเครื่องประกอบของการตรัสรู้ หรือองค์ประกอบแห่งโพธิญาณ แสดงว่าหลักธรรมนี้สำคัญมาก เพราะเป็นธรรมที่จะช่วยให้เกิดการตรัสรู้ การตรัสรู้นั้นเป็นเรื่องของปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจขั้นที่จะทำให้การตรัสรู้นี้มีความหมายลึกซึ้งลงไป กล่าวคือ

ประการที่ ๑ รู้แจ้งความจริงของสิ่งทั้งหลายเห็นสว่างโล่งทั่วไปหมด ไม่มีจุดหมองจุดมัว เพราะความรู้นั้นชำระใจให้หมดกิเลส ให้บริสุทธิ์ด้วย เพราะฉะนั้น ปัญญาตรัสรู้นี้จึงหมายถึง ความรู้บริสุทธิ์ หรือความรู้ที่เป็นเหตุให้เกิดความบริสุทธิ์

ประการที่ ๒ ปัญญาที่ทำให้การตรัสรู้นี้ทำให้เกิดความตื่น คือเดิมนั้นมีความหลับอยู่ คือมัวเพลิน มัวประมาทอยู่ ไม่ลืมตาลืมใจดูความเป็นจริง และมีความหลงใหล เช่น มีความหมกมุ่นมัวเมา ยึดติดในสิ่งต่างๆ เมื่อปัญญารู้แจ้งความจริงตรัสรู้แล้ว ก็กลายเป็นผู้ตื่นขึ้น พ้นจากความหลับ ความประมาทมัวเมา ความยึดติดต่างๆ พูดสั้นๆว่า ตื่นขึ้นทั้งจากความหลับใหล และความหลงใหล

ประการที่ ๓ จากการที่บริสุทธิ์และตื่นขึ้นมานี้ ก็ทำให้จิตใจของผู้นั้น มีความเบิกบานผ่องใส ปลอดโปร่งโล่งเบา เป็นอิสระ อันนี้คือสภาพจิตที่ดีงาม ถ้าเรียกในสมัยปัจจุบันก็ว่า เป็นสุขภาพจิตที่ดีมากถ้าท่านผู้ใดก็ตาม ได้มีสุขภาพจิตอย่างนี้แล้ว แม้จะไม่ถึงขั้นหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง ก็นับว่าเป็นผู้มีความสุขแล้ว ถ้าเป็นผู้ป่วยไข้ก็เรียกว่า มีสภาพจิตที่เหมือนกับไม่ได้ป่วย อย่างที่เรียกว่า กายป่วย แต่ใจไม่ป่วย หรือ ป่วยแต่กาย ใจไม่ป่วย ดังที่พระพุทธเจ้าเคยตรัสสอนท่านผู้สูงอายุ ท่านผู้เจ็บป่วยกระเสาะกระแสะ กระสับกระส่ายในวัยชรา ให้ทำใจว่า ถึงแม้กายของเราจะป่วย แต่ใจของเราจะไม่ป่วยด้วย ถ้าทำได้อย่างนี้ ก็จะเป็นจิตใจที่มีความสุข และก็จะช่วยผ่อนคลาย ห่างหายจากโรคนั้น หรืออย่างน้อยก็บรรเทาทุกขเวทนาที่เกิดจากโรคนั้นลงได้ อันนี้คือ การอธิบายความหมายของคำว่า โพชฌงค์ ที่แปลว่า องค์แห่งการตรัสรู้

โพชฌงค์ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ทั้งหมดนำมาซึ่งคุณอันวิเศษ เมื่อพัฒนาเต็มที่จะมีอำนาจในการทำที่สุดแห่งทุกข์ในสังสารวัฏให้สิ้นไป นี่คือคำกล่าวที่มีในพระไตรปิฎก ในที่นี้หมายความว่า วัฎจักรของการเกิดและการตายในเหล่าสัตว์ซึ่งประกอบด้วยสภาวธรรมของรูปและนาม ถึงความสิ้นสุดโดยสิ้นเชิง เมื่อโพชฌงค์เจริญเต็มที่แล้วจะนำผู้ปฏิบัติเข้าสู่พระนิพพาน ในที่นี้โพชฌงค์มีอุปการะแก่ความเข้มแข็งของจิตที่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยน แปลงของชีวิต นอกจากนี้ยังช่วยรักษาโรคร้ายทางร่างกายและจิตใจได้ด้วย ทั้ง นี้มิได้รับประกันว่าหากผู้ปฏิบัติเจริญกรรมฐานแล้วจะหายจากโรคทุกโรค แต่ก็เป็นไปได้ว่าการเจริญโพชฌงค์สามารถทำให้อาการป่วยทุเลาลงแม้แต่โรคที่ ไม่อาจรักษาให้หายได้ โรคที่เมื่อบุคคลเจริญโพชฌงค์ด้วยการปฏิบัติแล้วสามารถทำให้อาการป่วยทุเลา ลง พอยกตัวอย่างได้ดังนี้[9]

๑) โพชฌงค์ช่วยขจัดความป่วยทางจิต

โรคทางจิตคือโรคที่เกิดจากความโลภ ความโกรธ ความหลง ความริษยา ความตระหนี่ ความท้อถอย เป็นต้น เมื่ออาการเหล่านี้ปรากฏขึ้นก็จะทำให้จิตใจไม่แจ่มใส คลุมเครือ ภาวะจิตเช่นนี้เป็นเหตุให้ร่างกายทรุดโทรม ผิวพรรณกลับหมองคล้ำ เมื่อจิตใจถูกครอบงำด้วยพลังในทางลบ เรากลายเป็นคนน่าเบื่อ ไม่มีความสุข และสุขภาพทรุดโทรมคล้ายกับการหายใจเอาอากาศที่มีสารพิษเข้าไป ในทางตรงข้าม หากผู้ปฏิบัติพยายามอย่างแข็งขันในการเจริญสติ กำหนดรู้อารมณ์ให้คมชัดอยู่ทุกขณะ เป็นธรรมชาติอยู่เองที่จิตก็จะเกาะอยู่กับอารมณ์นั้นโดยไม่ฟุ้งซ่านหรือซัด ส่าย สมาธิหรือความตั้งมั่นของจิตจะปรากฏขึ้น จากนั้นจิตจะสะอาดปราศจากนิวรณ์หรืออคติใด ๆ และแล้วปัญญาก็จะเริ่มเบ่งบาน เมื่อสภาวญาณเกิดขึ้นจิตจะบริสุทธิ์มากขึ้นราวกับได้หายใจเอาอากาศบริสุทธิ์ อีกครั้ง หลังจากที่กลับจากเมืองใหญ่ที่มีความพลุกพล่านสติ วิริยะ และธัมมวิจยะ ก่อให้เกิดสมาธิและสภาวญาณตามลำดับ การเกิดสภาวญาณแต่ละขั้น เปรียบเสมือนการได้รับอากาศบริสุทธิ์เข้าไปในร่างกาย สภาวญาณที่ประจักษ์การเกิดดับของสภาวธรรมเป็นการเริ่มต้นของการปฏิบัติที่ดี และลึกซึ้ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ทำให้จิตมีความมั่นคงและสติมีความลึกซึ้งมากขึ้น การเกิดดับของอารมณ์มีความแจ่มชัด และผู้ปฏิบัติหมดความสงสัยในสภาวธรรมที่สามารถสัมผัสได้โดยตรง พลังปัญญาที่แรงกล้าขึ้นโดยฉับพลันนี้อาจทำให้รู้สึกว่าการปฏิบัติไม่ต้อง ใช้ความพยายามมากผู้ปฏิบัติอาจเข้าใจว่าไม่มีตัวตนหรือแม้แต่ผู้ที่ออกแรง พยายาม ปีติและความอิ่มใจเกิดเมื่อผู้ปฏิบัติ ประจักษ์ความบริสุทธิ์ของจิตด้วยตนเองรวมทั้งความลี้ลับของสัจจธรรมที่ เผยออกขณะต่อขณะความสุขที่เปี่ยมล้นตามมาด้วยความสงบนิ่ง และจิตที่ปราศจากความสงสัยและวิตกกังวลในช่วงของความสงบนี้ จิตสามารถจะมองเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น สมาธิยิ่งมั่นคงเมื่อปราศจากสิ่งรบกวน ในการปฏิบัติที่ลึกซึ้งนี้ แม้ว่าปีติและความสุขที่ลึกซึ้งยังคงอยู่ ผู้ปฏิบัติจะมีสภาวจิตที่เป็นกลางอย่างแท้จริง ไม่ถูกพัดพาไปตามกระแสของกามคุณอารมณ์ นอกจากนี้อารมณ์ที่ไม่น่าพอใจก็ไม่รบกวนจิต ผู้ปฏิบัติจะไม่รู้สึกรังเกียจความเจ็บปวดหรือโหยหาสิ่งที่น่าพอใจใด ๆ

๒) ผลการเจริญโพชฌงค์ส่งผลต่อร่างกาย

โพชฌงค์ทั้ง ๗ มีผลต่อร่างกายเช่นเดียวกับจิตใจ เพราะกายกับจิตเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด เมื่อจิตมีความบริสุทธิ์โดยมีโพชฌงค์ประคับประคองอยู่ ระบบการหมุนเวียนโลหิตจะทำงานได้ดีขึ้น เม็ดเลือดที่สร้างขึ้นใหม่จะมีความบริสุทธิ์และจะแทรกซึมไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้อวัยวะสะอาดร่างกายมีความคล่องแคล่ว ความสามารถในการรับรู้สูงขึ้น ผิวพรรณผ่องใส ผู้ปฏิบัติบางคนอาจรู้สึกว่ามีแสงออกจากร่างกายของตนเองจนทำให้สว่างไสวเวลา กลางคืน จิตก็เช่นกันจะแจ่มใสมีศรัทธาเข้มแข็งเช่นเดียวกับสัทธาสัมปทาที่เกิดจาก ประสบการณ์โดยตรงของผู้ปฏิบัติ จิตจะเบาและคล่องแคล่วเช่นเดียวกับร่างกายที่บางครั้งรู้สึกเหมือนล่องลอย อยู่ในอากาศ บ่อยครั้งที่ร่างกายหายไปและผู้ปฏิบัติสามารถนั่งได้นานๆ โดยไม่รู้สึกเจ็บปวด

พลังของโพชฌงค์จะส่งผลต่อความเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น วัณโรค โรคความดันโลหิตสูง โรคลำไส้ขด โรคทางเดินปัสสาวะ โรคหัวใจ มะเร็ง และอื่น ๆ โดยเฉพาะในการปฏิบัติในระดับลึกซึ้ง แต่ผลเหล่านี้ไม่ อาจเป็นที่รับประกันได้ หากผู้ปฏิบัติเข้มแข็ง อดทน กล้าหาญ ในการกำหนดสติที่อาการเจ็บปวดที่เกิดจากความเจ็บป่วย หรืออาการบาดเจ็บในอดีต ผู้ปฏิบัติอาจพบการเปลี่ยนแปลงอย่างน่าอัศจรรย์จากอาการเหล่านี้ ความพยายามอย่างไม่ลดละทำให้อะไรๆ เกิดขึ้นได้ การเจริญสติปัฏฐาน หรือการเจริญโพชฌงค์ อาจให้ผลดีค่อนข้างมาก โดยเฉพาะกับผู้ป่วยเป็นมะเร็ง มะเร็งเป็นโรคร้ายที่สร้างความเจ็บปวดให้แก่ร่างกายและจิตใจอย่างแสนสาหัส ผู้ที่เจริญสติปัฏฐานกรรมฐานได้ก้าวหน้าสามารถทำอาการให้ทุเลาลงโดยการกำหนด สติที่ความเจ็บปวด ไม่ว่าจะรุนแรงเพียงใด ผู้ปฏิบัติจะสามารถตายได้อย่างสงบ มีสติอย่างสมบูรณ์ กำหนดรู้ความเจ็บปวดอย่างเต็มที่ สมบูรณ์ และแม่นยำ ความตายเช่นนี้เป็นสิ่งที่ดีและประเสริฐ พ.ญ.รุจิราเป็นอีกท่านหนึ่งที่รับรองเรื่องการรักษาโรคมะเร็ง โดยได้เขียนไว้ในหลังสือเรื่อง “โพชฌงค์ องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ พุทธวิธีเสริมสุขภาพและดูแลสุขภาพตนเองแบบองค์รวม ธรรมะประยุกต์สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง” โดยได้เสนอสิ่งที่เรียกว่ายาชุดโพชฌงค์ (Treatment Protocol) ว่าประกอบไปด้วย

ยาชุดแรก คือ สติ ธรรมวิจัย สมาธิ ต้องให้ก่อน และให้ทันทีในช่วงแรกของการเจ็บป่วย

ยาชุดที่ ๒ คือ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ ต้องให้ตามมา เป็นตัวเสริม และบางส่วนจะเป็นผลจากการออกฤทธิ์ของยาชุดแรก

ยาชุดที่ ๓ คือ อุเบกขา เป็นตัวสุดท้ายที่ผู้ป่วยจะได้รับหากผลหากผลจากยา ๖ ตัวแรกทำงานได้ด้วยดี[10]

จากที่กล่าวมาหากมองพุทธวิธีการรักษาสุขภาพด้วยโพชฌงค์โดยการปฏิบัติธรรม ที่เรียกว่าการเจริญสติปัฏฐานก็ได้ชื่อว่าได้เจริญโพชฌงค์ด้วยเช่นกัน และเมื่อเจริญสติถึงระดับหนึ่งแล้วแน่นอนว่าก็ย่อมเกิดผลต่อสุขภาพนั่นคือ สามารถรักษาโรคได้อย่างไม่ต้องสงสัย

๒. โพชฌงค์ในทัศนะเป็นความมหัศจรรย์แห่งมนต์คาถา

หากวิเคราะห์โพชฌงค์ที่มีต่อการรักษาสุขภาพโดยผ่านการกระทำพิธีกรรม คือการสวดมนต์ก็พอมีเหตุผลสนับสนุนได้ว่า มนุษย์เกือบทุกยุคทุกสมัย มีการท่องคาถาสวดมนต์ประกอบพิธีกรรมต่างๆ มนุษย์อาศัยภาษาและเสียงในการท่องมนต์ การสวดมนต์ในพระพุทธศาสนาเป็นภาษาบาลี ซึ่งมีความเก่าแก่หลายพันปี โดยอาศัยการเปล่งเสียงเป็นภาษาพูดในแบบมุขปาฐะ (Oral Tradition) ซึ่งภาษาบาลีนี้ประกอบด้วยสระผสมผสานอยู่แทบทุกพยางค์ การเปล่งเสียงที่มีพยัญชนะครบสามารถกระตุ้นให้เกิดพลังได้[11] พลังในที่นี้คือพลังสั่นสะเทือน คือ เสียงโอ โฮล (Whole) กระตุ้นหัวใจ เสียงออย จอย (Joy) หรือ สวา หา ยะ กระตุ้นไต เสียงอี ซี (She) กระตุ้นระบบขับถ่าย เช่น การให้เด็กเล็กปัสสาวะ มักจะบอกเด็กว่า ฉี่ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ในภาษาบาลียังมีฐานกรณ์ หรือฐานเสียงอักขระทุกตัว เมื่อเกิดจากฐานใด เสียงก็จะไปกระตุ้นอวัยวะส่วนนั้นๆ การเปล่งเสียงในภาษาบาลีจึงมีพลังสั่นสะเทือน ซึ่งในแง่โยคะแล้ว สามารถกระตุ้นจักรทั้ง ๗ ในตัวเราได้ อาทิคำว่า “โอม” ถือเป็นคำศักดิ์สิทธิ์ (Secred word) เพราะหากกล่าวคำนี้ออกมาด้วยเสียงสูงและไปต่ำ ผู้กล่าวจะรู้สึกถึงพลังสั่นสะเทือนของเสียงนั้นๆ ไปตามจุดสำคัญของร่างกายนับแต่ก้นกบจนถึงลำคอ และศรีษะ

ดร.ริชาร์ด เกอร์เบอร์ และแอนดรู ไวลด์ กล่าวถึงพลังสั่นสะเทือนที่มนุษย์ได้จากการท่องมนต์ และคาถาว่าเป็นยาวิเศษรักษาโรคได้ จากหนังสือเรื่อง Vibration Medicine กล่าวไว้ว่า โรคภัยที่ส่งผลต่อร่างกายในส่วนใดๆ หากได้รับพลังสั่นสะเทือนถือเป็นการเยียวยาต่ออวัยวะนั้นๆ ดร.แอนดรู ไวลด์ ได้เขียนหนังสือเรื่อง Spontaneous Healing และได้ร่วมทำวิจัยพร้อมกับ ดร.เกเฮนดริก ผู้เขียนเรื่อง Conscious Breathing ทั้งสองได้ข้อสรุปว่า ร่างกายเรามีแนวโน้มที่จะสามารถรักษาตัวเองได้ หากรู้จักใช้พลังกระตุ้นอวัยวะที่มีปัญหาในร่างกาย

คำถามมีอยู่ว่า เมื่อเรากล่าวคำสรรเสริญสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเคารพบูชาผู้ควรบูชาได้แก่ พระพุทธเจ้า และพระอรหันต์สาวกทั้งหลาย เหตุใดการกล่าวคาถาดังกล่าวจึงนำมาซึ่งความสุขสวัสดิ์ ปกป้องคุ้มครองผู้นั้นได้ อาจอธิบายได้ว่า การเปล่งวาจาที่เป็นสัจจธรรมออกมาเปรียบได้กับการเปล่งแสงสว่างที่ทรงคุณค่า การสวดมนต์จึงนำมาซึ่งความสว่างไสว สามารถปกป้องผู้กล่าว และสรรพสิ่งทั้งหลายได้ ทั้งนี้มีการวิจัยที่น่าจะพิจารณาเกี่ยวโยงกับประเด็นนี้คือ การมีผู้นำน้ำพระพุทธมนต์ไปวิเคราะห์ ว่าอณูของน้ำเป็นเช่นไร ปรากฎว่าโมเลกุลของน้ำที่ได้รับเสียงสวดมนต์มีความสมบูรณ์สวยงาม ขณะที่น้ำที่ตั้งอยู่หน้าโทรทัศน์ และคอมพิวเตอร์ มีความบกพร่องของอณู มีรูปร่างที่ไม่สมบูรณ์ ขาดประสิทธิภาพ คำอธิบายที่ได้จากทดลองนี้คือ อานุภาพของคาถาที่มีพลังหรือการสั่นสะเทือนของคาถาส่งให้อณูในน้ำปรับตัวสู่ ภาวะที่สมบูรณ์ละเอียดอ่อนได้[12]

นอกจากนี้ข้อพิจารณาคือ ในบางครั้งผู้เปล่งบทสวดมนต์ก็ยังไม่เข้าใจในคำกล่าวดีนักแต่เหตุใดจึง สามารถมีประสิทธิผลได้ ทั้งนี้วิเคราะห์ได้ว่า มนุษย์มีความฉลาดยิ่งกว่าสมองคอมพิวเตอร์มนุษย์จะรวบรวมข้อมูลที่ได้รับอยู่ ตลอดเวลาเหมือนข้อมูลที่ใส่ในคอมพิวเตอร์ ความแตกต่างของมนุษย์ในโลกนี้นอกจากครอบครัว เชื้อชาติ ฐานะ และการศึกษา ก็คือ การรับข้อมูลที่ต่างกันออกไป การสวดมนต์ถือเป็นการใส่ข้อมูลที่ดีงามแก่ตัวเรา เพราะเป็นการกล่าวถึงสัจจธรรม และเป็นคำที่กอปรด้วยพลังดังกล่าวแล้วข้างต้น ทั้งนี้การใส่ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพย่อมนำประโยชน์สุขแก่ตน ขณะเดียวกันหากใส่ข้อมูลที่ผิดพลาดย่อมนำความทุกข์ระทมแก่ผู้นั้นๆ ดังนั้นความฉลาดในการเลือกข้อมูลจึงมีความสำคัญยิ่งต่อความสุขสวัสดิ์ของ มนุษย์

นอกจากนี้การสวดมนต์ภาวนา ถือเป็นทางไปสู่การบรรลุธรรม โดยอาศัยสมาธิเป็นพื้นฐานเพราะผู้สวดมนต์จะต้องท่องคาถาที่ยาก จึงต้องมีความตั้งใจมั่น การสวดมนต์อาศัยการมีสมาธิ จิตที่เป็นสมาธิ จิตที่จดจ่อแน่วแน่ และเป็นหนึ่งเดียวในปัจจุบัน ช่วยให้เกิดปัญญาเท่าทัน เข้าใจสรรพสิ่งตามเป็นจริง

หากพิจารณาจากหลักฐานในพระไตรปิฎกจะพบว่า ในพระพุทธศาสนามีพิธีกรรมการรักษาโรคประกอบด้วย ๒ วิธี คือ ๑. การสวดมนต์รักษา คือรตนสูตร โพชฌังคสูตร และคิริมานนทสูตร ๒. การพรมน้ำมนต์เพื่อรักษาไข้ ซึ่งตัวอย่างของการฟังบทสวดโพชฌงค์แล้วหายอาพาธ ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระมหากัสสปะ และพระมหาโมคคัลลานะ ผู้ซึ่งอาพาธ เมื่อได้ฟังโพชฌงค์องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ ก็ได้หายจากอาพาธนั้นทันที พระคิริมานนท์อาพาธหนักได้ฟังสัญญา ๑๐ จากพระอานนท์ อาพาธก็สงบโดยพลัน ซึ่งในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค แสดงไว้ว่า

“สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเวฬุวัน ได้ทราบข่าวว่าพระมหากัสสปะอาพาธ เลยเสด็จไปเยี่ยม เมื่อเสด็จไปถึงที่อยู่ของพระมหากัสสปะ ตรัสถามอาการว่า ดูก่อนกัสสปะยังพอทนได้ไหม พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ไหม ทุกขเวทนาผ่อนคลายลงหรือกำเริบขึ้น พอทุเลาแล้วหรือยัง ไม่กำเริบแล้วใช่ไหม? พระมหากัสสปะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนักยังไม่คลายไป ความกำเริบย่อมปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงทราบว่าอาการอาพาธของพระมหา กัสสปะอยู่ในขั้นหนักหนาสาหัสจึงทรงแสดงโพชฌงค์อันเป็นองค์ธรรมแห่งการ ตรัสรู้แก่พระมหากัสสปะว่า ดูก่อนกัสสป ะโพชฌงค์ ๗ เหล่านี้เรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน พระมหากัสสปะกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า โพชฌงค์ดีนัก ข้าแต่พระสุคต โพชฌงค์ดีนัก พระมหากัสสปะปลื้มใจ ชื่นชมภาษิตของพระพุทธเจ้า พระมหากัสสปะหายจากอาพาธนั้น”

ในอนาถปิณฑิโกวาทสูตร อนาถปิณฑิกคฤหบดีไม่สบาย เป็นไข้หนัก จึงส่งคนไปกราบทูลพระพุทธเจ้าให้ทรงทราบและให้ถวายบังคมแทนตน กับส่งคนไปอาราธนาพระสารีบุตรให้ไปที่อยู่ของตน เพื่อเป็นการอนุเคราะห์ พระสารีบุตรรับนิมนต์แล้วก็ไปเยี่ยมไต่ถามโดยมีพระอานนท์ตามไปด้วย อนาถปิณฑิกคฤหบดีมีทุกขเวทนากล้า พระสารีบุตรจึงกล่าวธรรมสั่งสอน เช่น ท่านพึงสำเนียกว่า จักไม่ยึดถือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และวิญญาณของท่านจักไม่อาศัยตา หู จมูก ลิ้นกาย ใจ ฯลฯ อนาถปิณฑิกคฤหบดีได้ฟัง ก็ร้องไห้ พระอานนท์จึงถามว่า ท่านยังติด ยังอาลัยอยู่หรือ อนาถปิณฑิกคฤหบดีตอบว่า มิได้ติด มิได้อาลัย แต่ไม่เคยได้ฟังธรรมิกถาอย่างนี้ เมื่อทราบว่าธรรมิกถาเช่นนี้ ไม่ได้แสดงแก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว แต่แสดงแก่บรรพชิต จึงขอร้องพระสารีบุตรให้แสดงแก่คฤหัสถ์บ้าง เพราะกุลบุตรที่มีกิเลสน้อยมีอยู่ จะเป็นผู้รู้ธรรมะได้ ไม่ได้ฟังก็จะเสื่อมจากธรรมะไป ท่านแสดงเนื้อหา คือตัวหลักธรรม และธรรมะที่แสดงนั้นเป็นธรรมเกี่ยวกับปัญญา เป็นธรรมะชั้นสูง ซึ่งความจริงก็เป็นเรื่องของการทำใจให้สว่าง สะอาด ผ่องใสเป็นการรักษาใจ เป็นธรรมดาว่ากายกับใจนั้น เป็นสิ่งที่อาศัยกันและกัน พอกายเจ็บป่วย ไม่สบาย คนทั่วไปก็มักจะพานจิตใจไม่สบาย เศร้าหมอง กระวนกระวาย กระสับกระส่ายไปด้วย เริ่มต้นตั้งแต่รับประทานอาหารไม่ได้ ร่างกายเศร้าหมอง ผิวพรรณซูบซีด เป็นสิ่งที่เนื่องอาศัยกันในทางตรงข้าม คือในทางที่ดี ถ้าจิตใจดี สบาย บางทีก็กลับมาช่วยกาย เช่น ในยามเจ็บป่วย ถ้าจิตใจสบาย มีกำลังใจ ผ่องใส เบิกบาน โรคที่เป็นมากก็กลายเป็นน้อย หรือที่จะหายยาก ก็หายง่ายขึ้น ยิ่งถ้ากำลังใจที่ดีนั้นมีมากถึงระดับหนึ่ง ก็ไม่เพียงแต่ทำให้โรคบรรเทาเท่านั้น แต่อาจจะช่วยบำบัดโรคไปด้วยเลย ทั้งนี้ก็อยู่ที่ว่า เราจะทำใจหรือรักษาใจของเราได้มากน้อยแค่ไหน พระพุทธเจ้าและพระมหาสาวกนั้น ท่านมีจิตใจที่พัฒนาให้ดีงามเต็มที่ มีสุขภาพด้านจิตที่สมบูรณ์แล้ว เมื่อถึงเวลาที่ต้องการก็จึงเรียกเอาด้านจิตมาช่วยด้านกายได้เต็มที่ ถ้าไม่เหลือวิสัยของเหตุปัจจัยก็เอาของดีที่มีในใจออกมารักษากายที่เป็นโรค ให้หายไปได้

ส่วนการพรมน้ำมนต์เพื่อรักษาไข้ปรากฏในอรรถกถาธรรมบทดังนี้

“เมืองไพสาลีเมืองหลวงของเจ้าลิจฉวีทั้งหลาย มีพลเมืองมากมาย ได้ประสบทุพภิกขภัยและล้มตาย กลิ่นของซากศพเหม็นกระจายไปไกล พลเมืองถูกคุกคามโดยเชื้อโรคทางระบบหายใจ เจ้าลิจฉวีได้ทูลอาราธนาพระ พุทธเจ้า เพื่อเสด็จเยือนพระนคร พระพุทธเจ้าทรงรับคำอาราธนาและได้เสด็จไปพร้อมกับพระสาวก ๕ รูป ไม่นานเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จถึงเขตเมืองไพสาลี ก็ได้เกิดฝนตกห่าใหญ่ พระพุทธองค์เสด็จเสด็จมาถึงในตอนเย็น พระพุทธองค์ตรัสให้พระอานนท์สวดรตนสูตรใน ๓ ด้านของกำแพงเมือง พระอานนท์เรียนรตนสูตรจากพระโอฐของพระพุทธเจ้า รับน้ำจากบาตรหินของพระพุทธเจ้า และไปยืนที่ประตูเมือง เมื่อพระอานนท์สวดว่า ยงฺกิญฺจิ และพรมน้ำมนต์ หยดน้ำที่พุ่งเข้าไปในอากาศแล้วตกลงมาถูกคนป่วยเหล่านั้น ความเจ็บป่วยของคนเหล่านั้นก็หายทันที”

จากหลักฐานทั้งทางวิทยาศาสตร์และหลัก ฐานในพระไตรปิฎกจึงสามารถสรุปได้ว่า การสวดมนต์นั้นก็เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้หายจากโรคได้เช่นกัน แต่สิ่งสำคัญยิ่งก็คือการใช้กายนี้เพื่อเป็นเครื่องมือให้เข้าถึงธรรมะ ดังที่พุทธทาสภิกขุกล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าเป็นสุดยอดของนักเศรษฐกิจ เป็นผู้ที่ทำสิ่งที่ไม่มีค่าให้มีค่าที่สุด สิ่งที่มีค่าน้อย ให้มีค่ามากโดยไม่ต้องทำลายทรัพยากรใดๆ ในโลก พระพุทธองค์ประพฤติกลางดิน ตรัสรู้กลางดิน สอนกลางดิน อยู่กลางดิน ตายกลางดิน เรียกว่าอยู่อย่างธรรมชาติ ใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด[13] นี่คือพระบิดาแห่งเศรษฐศาสตร์ของโลก จึงกล่าวได้ว่าร่างกายของมนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด เมื่อมนุษย์ปฏิบัติต่อร่างกายอย่างถูกต้องโดยการพิจารณาร่างกายจนสามารถเห็น ธรรมะได้ การมีชีวิตที่ดี หรือมีสุขภาพที่ดี มิใช่เป้าหมาย(end) เพราะอาจจะทำให้คนลุ่มหลงในสุขภาพร่างกายได้ แต่เป็นเพียง (mean) คือเป็นเพียงเครื่องมือแห่งการปฏิบัติขัดเกลาตนเอง (จิตใจ) ให้เห็นธรรม นี่คือท่าทีที่สำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา

สรุป

พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ การรักษาโรคทางใจแก่ชาวโลก ทำให้พระพุทธองค์ทรงได้รับการสรรเสริญจากสาวกของ พระองค์ว่าเป็นแพทย์ของชาวโลกทั้งมวล (สพฺพโลกติกิจฺฉโก) ซึ่งแนวคิดเรื่องสุขภาพนั้นปรากฎหลักฐานมากมายในพระ ไตรปิฎก เช่นในอังคุตตรนิกาย กล่าวไว้ว่า โรคในพุทธศาสนานั้น มี ๒ ชนิด คือ ๑. โรคทางกาย (กายิโก โรโค) ๒. โรคทางใจ (เจตสิโก โรโค) โทณปากสูตร ทรงแนะนำวิธีการป้องกันโรคอันเกิดจากการบริโภคอาหารที่มากเกินความจำเป็น แต่หลักการที่สำคัญเกี่ยวกับการป้องกัน และรักษาสุขภาพ คือ หลักโพชฌงค์ทั้ง ๗ ซึ่งเป็นองค์แห่งการรู้แจ้ง ซึ่งเป็นการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชน หรือผู้สนใจในเรื่องสุขภาพ จึงควรเจริญสติที่ระลึกรู้เท่าทันสภาวธรรมปัจจุบันภายในกายกับจิต มีปัญญาหยั่งเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริง มีความเพียรในการปฏิบัติธรรม มีปีติความอิ่มใจ มีปัสสัทธิสงบกาย สงบใจ มีสมาธิตั้งมั่นในสภาวธรรมปัจจุบัน และมีอุเบกขาวางเฉยโดยตามรู้สิ่งที่จิตรับรู้ได้สม่ำเสมอ เมื่อเป็นเช่นนั้นก็จะสามารถประสบความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม เมื่อมีความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมแล้วก็ย่อมส่งผลต่อสุขภาพไปโดยปริยาย เนื่องจากจิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว เมื่อจิตดี กายย่อมจะดีด้วยเป็นธรรมดา แต่อย่างไรก็ตาม แม้เพียงการสวดโพชฌังคปริตร ก็สามารถรักษโรคได้เช่นกัน เพราะการสวดมนต์คือสื่อของภาษา คาถาที่เปล่งออกมามีพลังในตัวเอง เพราะเป็นคำที่มีอักขระต่างๆ ยังให้เสียงที่เปล่งออกมาสะเทือนไปยังอวัยวะต่างๆ ในร่างกายและสามารถรักษาอวัยวะที่เจ็บป่วยได้ ด้วยพลังนี้ นอกจากนี้ความหมายของคาถายังเป็นสัจจธรรม มีอานุภาพในตัวเองเปรียบดังแสงสว่างที่เอื้อให้เห็นสรรพสิ่งได้ การสวดมนต์ย่อมยังผลต่อผู้สวดและมีผลต่อสรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องดังได้พรรณามา แล้ว เพราะเป็นการรู้จักป้อนข้อมูลที่ดีแก่ตนเอง มีพลานุภาพก่อให้เกิดพลังด้านบวกโดยรับข้อมูลจากคาถาต่างๆ ก็ย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพได้เช่นกัน[14] อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่สุดในเรื่องสุขภาพก็คือ การใช้ความเป็นผู้มีสุขภาพดีเป็นเครื่องมือในการฝึกหัดขัดเกลาตนเองให้ สามารถบรรลุธรรมในทางพระพุทธศาสนาได้ ผู้เขียนเชื่ออย่างสนิทใจว่า พุทธวิธีการรักษาโรคด้วยโพชฌงค์นั้นหากปฏิบัติได้จริงสามารถเยียวยารักษาโรค ได้อย่างแน่นอน แต่การสวดมนต์หรือเจริญพุทธมนต์นั้นจะช่วยได้ก็เพียงบรรเทา ดังคำกล่าวที่ว่า “สวดมนต์เป็นยาทา (บรรเทา) วิปัสสนาเป็นยาแก้”

บรรณานุกรม

โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย MCUTRAI VERSION ๑.๐

ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์, ธัมมิกเศรษฐศาสตร์ : ปรัชญาเศรษฐศาสตร์สังคมของชาวพุทธ, กรุงเทพมหานคร: มิตรนราการพิมพ์, ๒๕๓๑

พ.ญ. รุจิรา. โพชฌงค์ องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ พุทธวิธีเสริมสุขภาพและดูแลสุขภาพตนเองแบบองค์รวม ธรรมะประยุกต์สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง. ม.ป.ม.

พระกัมมัฏฐานาจริยะ อู บัณฑิตาภิวังสะ. รู้แจ้งในชาตินี้. กรุงเทพฯ : สหธรรมิก. ๒๕๔๙.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) . โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ. กรุงเทพ ฯ : พิมพ์สวย. ๒๕๕๐.

พระสิงห์ทน นราสโภ. พลังรังษีธรรม . กรุงเทพฯ : ส.น.พ. โลกทิพย์, ๒๕๔๓

ฟูจิโมโต้ โนริยูกิ. น้ำประจุพลังบำบัดโรค. พิมพ์ครั้งที่ ๒ . กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์รวมทรรศน์, ๒๕๔๗

รศ.จุฬาทิพย์ อุมะวิชนี. ตำนานบทสวดมนต์และคำแปล. กรุงเทพฯ: วิทยาการพิมพ์. ๒๕๕๑ .


[1] อุทัย สติมั่น ป.ธ.๗, พธ.บ.(เศรษฐศาสตร์) รุ่น ๔๓, M.B.A. (การจัดการ), นิสิตปริญญาเอก รุ่น ๖ บัณฑิตวิทยาลัย มจร., อาจารย์ประจำ ม.ราชภัฏสวนดุสิต.

[2] ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน ม.ม. ๑๓/๒๑๖/๒๕๔, ขุ.ธ. ๒๕/๒๐๔/๙๖ (มาคัณฑิยสูตร)

[3] ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน ม.ม. ๑๓/๓๔๔/๔๑๖- ๔๑๗ (โพธิราชกุมารสูตร)

[4] ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในสํ.มู. ๑๗/๑/๒ (นกุลปิตุสูตร)

[5] ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในสํ.มหา. ๑๙/๕๑๑/๓๒๒ (ชราธัมมสูตร)

[6] ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน สํ.ส. ๑๕/๑๒๔/๑๔๕-๖ (โทณปากสูตร)

[7] พระกัมมัฏฐานาจริยะ อู บัณฑิตาภิวังสะ. รู้แจ้งในชาตินี้. (กรุงเทพฯ : สหธรรมิก. ๒๕๔๙ ). หน้า ๑๓๙ – ๒๕๑.

[8] โปรดดูรายละเอียดใน พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) . โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ. (กรุงเทพ ฯ : พิมพ์สวย. ๒๕๕๐). หน้า ๖ - ๒๗.

[9] พระกัมมัฏฐานาจริยะ อู บัณฑิตาภิวังสะ. รู้แจ้งในชาตินี้. (กรุงเทพฯ : สหธรรมิก. ๒๕๔๙).

[10] พ.ญ. รุจิรา. โพชฌงค์ องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ พุทธวิธีเสริมสุขภาพและดูแลสุขภาพตนเองแบบองค์รวม ธรรมะประยุกต์สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง. ม.ป.ม.

[11] พระสิงห์ทน นราสโภ. พลังรังษีธรรม . (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โลกทิพย์, ๒๕๔๓) หน้า ๑๕.

[12] ฟูจิโมโต้ โนริยูกิ. น้ำประจุพลังบำบัดโรค. (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์รวมทรรศน์, พิมพ์ครั้งที่ ๒, ๒๕๔๗) หน้า ๒๓.

[13] ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์, ธัมมิกเศรษฐศาสตร์ : ปรัชญาเศรษฐศาสตร์สังคมของชาวพุทธ, (กรุงเทพมหานคร: มิตรนราการพิมพ์, ๒๕๓๑), หน้า ๘.

[14] รศ.จุฬาทิพย์ อุมะวิชนี. ตำนานบทสวดมนต์และคำแปล. (กรุงเทพฯ: วิทยาการพิมพ์. ๒๕๕๑ ). หน้า ๑ – ๖.

หมวดหมู่: การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: อา. 27 ธ.ค. 2552 @ 00:55 แก้ไข: อา. 27 ธ.ค. 2552 @ 01:05

ความเห็น

1.
P
New.ครูบันเทิง
เมื่อ อา. 27 ธ.ค. 2552 @ 07:47
#1761686 [ ลบ ]

สวัสดีค่ะ ไม่อยากมีโรคเหมือนกันค่ะ

2.
30
พระมหาแล ขำสุข(อาสโย) [IP: 113.53.28.206]
เมื่อ อา. 27 ธ.ค. 2552 @ 07:52
#1761693 [ ลบ ]

ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๓

ขอให้คุณศิษย์ตถาคตและครอบครัวมีความสุขดังบทบาลีที่ว่า เต อัตถลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธสาสเน อโรคา สุขิตา โหถะ สหสัพเพหิ ญาติภิ. ขอให้ครอบครัวของท่านพร้อมด้วยหมู่ญาติ จงประสบสุขในสิ่งที่ปรารถนา มีสุขภาวะที่สมบูรณ์ปราศจากโรคภัยและเจริญงอกงามไพบูลย์ในพุทธธรรมตลอดไป เทอญ.

3.
P
ศิษย์ตถาคต
เมื่อ อา. 27 ธ.ค. 2552 @ 08:08
#1761705 [ ลบ ]

นมัสการครับพระอาจารย์มหาเล ถือเป็นพรปีใหม่ที่ประเสริฐมากครับ ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยจงบันดาลให้พระอาจารย์มีความสุข และเจริญรุ่งเรืองในพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกันครับ

4.
P
ศิษย์ตถาคต
เมื่อ อา. 27 ธ.ค. 2552 @ 08:12
#1761709 [ ลบ ]

สวัสดีปีใหม่เช่นเดียวกันครับ ครูบันเทิง คงมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนมุมมองชีวิต เพื่อสร้างสรรค์สังคมช่วยกันนะครับ

5.
P
ธรรมฐิต
เมื่อ อา. 27 ธ.ค. 2552 @ 09:02
#1761806 [ ลบ ]

แวะมาเรียนรู้กับอาจารย์ขอรับ..

เอวํ โหตุ..

พุทธวิธีการรักษาโรคด้วยโพชฌงค์ : ผลแห่งการปฏิบัติหรือมหัศจรรย์แห่งมนต์คาถา (ตอนที่ ๑)

พุทธวิธีการรักษาโรคด้วยโพชฌงค์ : ผลแห่งการปฏิบัติหรือมหัศจรรย์แห่งมนต์คาถา (ตอนที่ ๑)

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดูเหมือนว่า บุคคลทั้งหลายสามารถพ้นจากโรคทางกายได้ เป็นเวลา ๑ ปีบ้าง ๒ ปีบ้าง ๓ ปีบ้าง ๔ ปีบ้าง ๕ ปีบ้าง ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง ๕๐ ปีบ้าง...หรือแม้ยิ่งกว่า ๑๐๐ ปีบ้าง แต่ว่าในโลกนี้ บุคคลที่พ้นจากโรคทางใจแม้เพียงชั่วครู่ยามมีน้อยนัก นอกจากบุคคลที่พ้นจากกิเลสทั้งหลาย (คือ พระอรหันต์)”

พุทธวิธีการรักษาโรคด้วยโพชฌงค์ : ผลแห่งการปฏิบัติหรือมหัศจรรย์แห่งมนต์คาถา [1]

บทนำ

ในยุคโลกาภิวัตน์ที่ความเจริญทางด้านวัตถุได้รุดหน้าไปไกลและรวดเร็วมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเทคโนโลยีที่คอยบำเรอความสุขทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดูไปแล้วคนในยุคปัจจุบันน่าจะมีความสุข และความสบายมากกว่าแต่ก่อน แต่ตรงกันข้ามกลับมีคนเป็นจำนวนไม่น้อยที่ต้องเผชิญกับความทุกข์ใจในรูป แบบต่างๆ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล ความเบื่อหน่าย ความท้อแท้ ความคับข้องใจ เป็นต้น ทำให้สุขภาพกาย และสุขภาพจิตอ่อนแอ ทรุดโทรมหรือแปรปรวนจนเกิดเป็นโรคต่างๆ ได้ง่าย สิ่งที่น่าสนใจก็คือเมื่อเป็นเช่นนี้แล้วพระพุทธศาสนาจะมีทางออกต่อประเด็น ปัญหาสุขภาพอย่างไร ข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นได้ชี้ให้เห็นว่าในพระพุทธศาสนา ให้ความสำคัญกับสุขภาพอย่างยิ่ง ดังพุทธพจน์ที่ว่า “ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” (อาโรคฺยปรมา ลาภา)[2] ใน พระพุทธศาสนา กล่าวถึงการมีสุขภาพดีก็คือการไม่มีโรคทั้งทางกาย และทางใจ ถ้ามนุษย์ไม่มีสุขภาพดี จะไม่สามารถปฏิบัติบทบาทของตนเองได้อย่างสมบูรณ์ รวมทั้งสามารถปฏิบัติพันธะทางศีลธรรมของตนได้โดยไม่เสีย ดังปรากฎในโพธิราชกุมารสูตรว่า องค์ของภิกษุผู้มีความเพียรในพระพุทธศาสนานั้น ภิกษุจะต้องเป็นผู้มีสุขภาพดี มีโรคาพาธน้อย ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลางพอเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร[3] แต่อย่างไรก็ตามความเจ็บป่วยถือเป็นมรดกกรรมอย่างหนึ่งที่มนุษย์ทุกคนจะ ต้องประสบพบเจออย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก จะแตกต่างก็เพียงจะช้าหรือเร็ว จะมากหรือน้อยเท่านั้น บทความนี้ผู้เขียนต้องการเสนอท่าทีของพระพุทธศาสนาที่มีต่อประเด็นปัญหา เรื่องสุขภาพ รวมถึงแนวทางในการแก้ปัญหา หรือการรักษาโรคหากมีโรคภัยเบียดเบียนเกิดขึ้น ซึ่งหลักธรรมที่สำคัญของพระพุทธศาสนาที่ใช้ในการรักษาสุขภาพที่สำคัญอย่าง หนึ่ง ก็คือหลักโพชฌงค์ ๗ ประการ ซึ่งเป็นองค์ธรรมเพื่อการตรัสรู้ ประเด็นที่ผู้เขียนสนใจก็คือ โพชฌงค์นั้นเกี่ยวข้องกับการรักษาโรคได้อย่างไร และหากเกี่ยวข้องจริง การรักษาโรคด้วยโพชฌงค์นั้นจะเป็นผลของการปฏิบัติธรรมขั้นสูง ซึ่งเป็นการรักษาโรคอย่างถาวร ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสความหมายไว้ว่า ความไม่มีโรคในพระพุทธศาสนานั้น ก็คือ การนิพพาน อันเป็นการแก้โรคทางใจ ได้แก่ เจตสิกทุกข์ ได้อย่างเด็ดขาด หรือยังทรงหมายถึงโรคทั่วๆ ไปคือโรคทางกาย คือ กายิกทุกข์ก็สามารถรักษาได้ด้วยการปฏิบัติตามหลักโพชฌงค์ ๗ ประการ อีกอย่างหนึ่งการหายจากโรคหากไม่ได้เกิดจากผลของปฏิบัติแล้ว เป็นไปได้หรือไม่ว่าเกิดด้วยความมหัศจรรย์แห่งมนต์ หรือคาถาที่เรียกว่าโพชฌังคปริตร ดังปรากฎหลักฐานในคัมภีร์พระไตรปิฎก ส่งผลก่อให้เกิดความเชื่อเป็นพุทธศาสนาแบบชาวบ้าน รวมถึงเป็นที่มาของการประกอบพิธีกรรมแปลกๆ มากมายของพระสงฆ์บางรูปที่ใช้การสวดมนต์ด้วยมุ่งหวังว่าจะช่วยรักษาโรคได้ ขณะเดียวกันก็ไม่มีอะไรเป็นเครื่องรับประกันว่าจะรักษาโรคได้จริง นอกจากนี้ยังไม่สามารถอธิบายบทสวดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตามคำสอนในบทสวดได้ ทำให้พระพุทธศาสนาในประเทศไทยเป็นพระพุทธศาสนาในรูปแบบพิธีกรรมเสียเป็นส่วน มากดังที่ปรากฎให้เห็นอยู่โดยทั่วไป

วิธีการดูแลสุขภาพในพระไตรปิฎก

เป้าหมายสำคัญในการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า คือ การให้การรักษาโรคทางใจแก่ชาวโลก ข้อนี้คือเหตุผลที่ว่าทำไมพระพุทธเจ้าจึงทรงได้รับการสรรเสริญจากสาวกของ พระองค์ว่าเป็นแพทย์ของชาวโลกทั้งมวล (สพฺพโลกติกิจฺฉโก) ซึ่งแนวคิดเรื่องสุขภาพนั้นปรากฎหลักฐานมากมายในพระ ไตรปิฎก อย่างไรก็ตามขอยกตัวอย่างหลักฐานในพระสูตรที่สำคัญเพียงเล็กน้อย เช่นในอังคุตตรนิกาย กล่าวไว้ว่า โรคในพุทธศาสนานั้น มี ๒ ชนิด คือ ๑. โรคทางกาย (กายิโก โรโค) ๒. โรคทางใจ (เจตสิโก โรโค) ดังพุทธวจนะที่ว่า

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดูเหมือนว่า บุคคลทั้งหลายสามารถพ้นจากโรคทางกายได้ เป็นเวลา ๑ ปีบ้าง ๒ ปีบ้าง ๓ ปีบ้าง ๔ ปีบ้าง ๕ ปีบ้าง ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง ๕๐ ปีบ้าง...หรือแม้ยิ่งกว่า ๑๐๐ ปีบ้าง แต่ว่าในโลกนี้ บุคคลที่พ้นจากโรคทางใจแม้เพียงชั่วครู่ยามมีน้อยนัก นอกจากบุคคลที่พ้นจาก กิเลสทั้งหลาย (คือ พระอรหันต์)”

พุทธพจน์นี้ทรงชี้ว่าบุคคลทั้งหลายนั้นมีโรคภัยเบียดเบียนแทบจะตลอดเวลา นั่นคือโรคทางใจ ส่วนโรคทางกายนั้นพระพุทธองค์ก็ทรงตรัสว่าร่างกายนั้นเป็นรังแห่งโรคที่ต้อง ดูแลเอาใจตลอดเวลาดังปรากฏในนกุลปิตุสูตร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

“คหบดี เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น คหบดี เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ความจริง กายนี้กระสับกระส่าย เป็นดังฟองไข่ มีเปลือกหุ้มไว้ อนึ่ง บุคคลผู้บริหารกายนี้อยู่ พึงรับรองความไม่มีโรคได้แม้เพียงครู่เดียว จะมีอะไรเล่านอกจากความโง่เขลา เพราะเหตุนั้น ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เมื่อเรามีกายกระสับกระส่ายอยู่ จิตจักไม่กระสับกระส่าย’ ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้”[4]

เห็นได้ชัดว่าร่างกายนั้นเป็นรังของโรค จึงรับรองความไม่มีโรคได้ยาก วิธีการของพระพุทธศาสนาจึงมุ่งเน้นในการรักษาจิตไม่ให้กระสับกระส่าย ในชราธัมมสูตร ซึ่งเป็นสูตรว่าด้วยผู้มีความแก่ มีใจความตอนหนึ่งว่า “สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตาในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น ประทับนั่งผินพระปฤษฎางค์ให้แดดที่ส่องมาจากทิศตะวันตก ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วบีบนวดพระวรกายของพระผู้มีพระภาคด้วยฝ่ามือ พลางกราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ บัดนี้พระฉวีวรรณของพระผู้มีพระภาคไม่บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนเมื่อก่อน พระอวัยวะทุกส่วนก็เหี่ยวย่นเป็นเกลียว พระวรกายก็ค้อมไปข้างหน้า และพระอินทรีย์ทั้งหลาย คือจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ ก็ปรากฏแปรเปลี่ยนไป”

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “จริงอย่างนั้น อานนท์ ความแก่มีอยู่ในความเป็นหนุ่มสาว ความเจ็บไข้มีอยู่ในความไม่มีโรค ความตายก็มีอยู่ในชีวิต ผิวพรรณไม่บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนเมื่อก่อน อวัยวะทุกส่วนก็เหี่ยวย่นเป็นเกลียว กายก็ค้อมไปข้างหน้า และอินทรีย์ทั้งหลาย คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ ก็ปรากฏแปรเปลี่ยนไป”[5]

พระสูตรดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าแม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยัง ทรงอาพาธ ทรงมุ่งหวังให้สาวกทั้งหลายไม่ประมาท และให้เร่งรีบทำความเพียร ในโทณปากสูตร[6] ทรงแสดงวิธีการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคไว้ว่า

“สมัยนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยพระสุธาหาร หุงด้วยข้าวสาร ๑ ทะนาน จึงทรงอึดอัด เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ครั้งนั้นพระศาสดาตรัสกะท้าวเธอว่า “มหาบพิตร พระองค์ยังไม่ทันพักผ่อนเลย เสด็จมาแล้วหรือ” “อย่างนั้น พระเจ้าข้า ตั้งแต่เวลาที่บริโภคแล้ว หม่อมฉันมีทุกข์มาก” “มหาบพิตร การบริโภคมากเกินไป เป็นทุกข์อย่างนี้” พระพุทธองค์จึงตรัสสอนด้วยคาถาว่า “ในกาลใด บุคคลเป็นผู้กินจุ มักง่วง และมักนอนหลับ กระสับกระส่าย เป็นดุจสุกรใหญ่ที่เขาเลี้ยงด้วยอาหาร ในกาลนั้น เขาเป็นคนมึนซึม ย่อมเข้าห้องบ่อยๆ” พระพุทธองค์ตรัสว่า “มหาบพิตร การบริโภคโภชนะแต่พอประมาณจึงควร เพราะผู้บริโภคพอประมาณ ย่อมมีความสุข “ต่อจากนั้น พระองค์จึงตรัสคาถาแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า “ผู้มีสติทุกเมื่อ รู้ประมาณในโภชนะที่ได้มา มีเวทนาเบาบาง แก่ช้า อายุยืน” พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมอบหมายให้สุทัสสนะนัดดาของพระองค์เรียนคาถา นี้แล้วทูลคาถาในเวลาที่เสวย ต่อมาพระราชามีพระวรกายกระปรี้กระเปร่าดี ทรงลูบพระวรกายด้วยฝ่าพระหัตถ์ ทรงเปล่งอุทานว่า “พระพุทธเจ้านั้น ทรงอนุเคราะห์เรา ทั้งประโยชน์ชาตินี้และประโยชน์ชาติหน้า”

นี่เป็นตัวอย่างของพุทธวิธีการป้องกันโรคทางกายอันว่าด้วยสุขลักษณะในการบริโภคอาหารอย่างรู้จักพอประมาณ

โพชฌงค์ คืออะไร

คำว่า “โพชฌงค์” ประกอบด้วยคำว่า โพธิ ซึ่งหมายถึงปัญญาอันเป็นเครื่องตรัสรู้ หรือพระอริยบุคคลผู้บรรลุธรรมแล้ว และคำว่า องฺค หมายถึงปัจจัยที่เป็นหตุ ดังนั้น โพชฌงค์จึงหมายถึงธรรมที่เป็นองค์ของผู้ตรัสรู้หรือเป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คำว่า โพชฌงค์นี้บางครั้งเรียกว่า สัมโพชฌงค์ คำว่า สัม หมายถึง เต็มบริบูรณ์ ถูกต้อง หรือแท้จริง การใช้คำนำหน้านี้เป็นการยกย่องและย้ำความ แต่ก็มิได้มีความหมายใดเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ

ธรรมทั้ง ๗ ที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือคุณสมบัติเจ็ดประการของพระอริยบุคคล ได้แก่ สติ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ ความระลึกได้ ธัมมวิจยะ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ การเฟ้นธรรม คือ การใช้ปัญญาไตร่ตรอง พิจารณา สอดส่อง ค้นคว้าธรรม วิริยะ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ ความเป็นผู้กล้าหาญ ไม่ย่อท้อ ไม่ท้อถอย ปีติ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ ความอิ่มใจ หรือความดื่มด่ำ ความซาบซึ้ง ปลาบปลื้มใจ ปัสสัทธิ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือความสงบกายสงบใจ มีความผ่อนคลาย หรือสงบเย็น ไม่กระสับกระส่าย ไม่เครียด สมาธิ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ ความตั้งมั่นแห่งจิต และ อุเบกขา ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือความวางเฉย เป็นกลางๆ ไม่เอนเอียงไปข้างโน้นข้างนี้ องค์ธรรมทั้ง ๗ นี้สามารถพบได้ในทุกขั้นตอนของการเจริญวิปัสสนา แต่หากพิจารณาตามขั้นตอนของลำดับญาณแล้วอาจกล่าวได้ว่า องค์ธรรมทั้ง ๗ จะปรากฏชัดในญาณที่ผู้ปฏิบัติเริ่มเห็นความเกิดดับของสภาวธรรมต่างๆ ผู้ปฏิบัติควรจะทำอย่างไรในการพัฒนาองค์ธรรมเหล่าให้เกิดขึ้น ก็โดยการเจริญสติปัฏฐานนั่นเอง พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากผู้ปฏิบัติระลึกรู้อารมณ์ที่ฐานทั้งสี่อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โพชฌงค์๗ ก็จะเกิดขึ้นจนบริบูรณ์” การเจริญสติปัฏฐานมิได้หมายถึงการศึกษา การ

Monday, December 28, 2009

10 วิธีการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี

10 วิธีการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี

10 วิธีการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี

ในแต่ละวันเราจำเป็นต้องรับประทานอาหารมากมาย มีคำแนะนำจากหลายสำนักให้กินนั่น ห้ามกินนี่จนไม่รู้จะเชื่อใครดี วันนี้เราจึงมีเคล็ดลับง่ายๆ ของการกินให้ได้ประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพอย่างเต็มที่มาฝาก

1. กินอาหารเช้า เป็น พฤติกรรมพื้นฐานที่ส่งผลต่อจิตใจ และพลังชีวิตของคุณไปตลอดทั้งวัน และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ช่วยเผาผลาญพลังงานให้ดีขึ้น ทำให้คุณกินอาหารในมื้ออื่นๆ น้อยลง

2. เปลี่ยนน้ำมันที่ใช้ปรุงอาหาร ยอมจ่ายแพงสักนิดใช้น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันดอกทานตะวัน ปรุงอาหารแทนน้ำมันแบบเดิมที่เคยใช้ เพราะเป็นไขมันที่ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย และมีกรดไขมันอิ่มตัวที่เป็นประโยชน์ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือดได้เป็นอย่างดี

3. ดื่มน้ำให้มากขึ้น คนเราควรดื่มน้ำวันละ 2 ลิตรเป็นอย่างน้อย (ยกเว้นในรายที่ไตทำงานผิดปกติ) เพื่อหล่อเลี้ยงเซลล์ในร่างกาย ฟื้นฟูระบบขับถ่าย รักษาระดับความเข้มข้นของเลือด จะทำให้สดชื่นตลอดวันเลยทีเดียว

4. เสริมสร้างแคลเซียมให้กับกระดูก ด้วยการดื่มนม กินปลาตัวเล็กทั้งตัวทั้งก้าง เต้าหู้ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ผักใบเขียว เพราะแคลเซียมเป็นสิ่งจำเป็นที่จะเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อและ กระดูก ทำให้ระบบประสาททำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

5. บอกลาขนมและของกินจุบจิบ ตัด ของโปรดประเภทโดนัท คุกกี้ เค้กหน้าครีมหนานุ่ม ออกจากชีวิตบ้าง แล้วหันมากินผลไม้เป็นของว่างแทน วิตามิน และกากใยในผลไม้ มีประโยชน์กว่าไขมัน และน้ำตาลจากขนมหวานเป็นไหนๆ

6. สร้างความคุ้นเคยกับการกินธัญพืชและข้าวกล้อง เมล็ดทานตะวัน ข้าวฟ่างและลูกเดือย รวมทั้งข้าวกล้องที่เคยคิดว่าเป็นอาหารนก ได้มีการศึกษาและค้นคว้าแล้ว พบว่า ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจถึง 1 ใน 3 เลยทีเดียว เพราะอุดมไปด้วยไฟเบอร์ ที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และควบคุมน้ำตาลในเลือดให้สมดุล

7. จัดน้ำชาให้ตัวเอง ทั้งชาดำ ชาเขียว ชาอู่ล่ง หรือเอิร์ลเกรย์ ล้วนแล้วแต่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ การดื่มชาวันละ 1 ถึง 3 แก้ว ช่วยลดอัตราเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหารถึง 30%

8. กินให้ครบทุกสิ่งที่ธรรมชาติมี คุณ ต้องพยายามรับประทานผักผลไม้ต่างๆ ให้หลากสี เป็นต้นว่า สีแดงมะเขือเทศ สีม่วงองุ่น สีเขียวบล็อกเคอรี สีส้มแครอท อย่ายึดติดอยู่กับการกินอะไรเพียงอย่างเดียว เพราะพืชต่างสีกัน มีสารอาหารต่างชนิดกัน แถมยังเป็นการเพิ่มสีสันการกินให้กับคุณด้วย

9. เปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนรักปลา การกินปลาอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง ได้ทั้งความฉลาดและแข็งแรง เพราะปลามีกรดไขมันโอเมก้า 3 และโปรตีน ที่ช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ และบำรุงเซลล์สมอง ทั้งยังมีไขมันน้อย อร่อย ย่อยง่าย เหมาะสำหรับคนที่ต้องการหุ่นเพรียวลมเป็นที่สุด

10. กินถั่วให้เป็นนิสัย ทำให้ถั่วเป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่คุณต้องกินทุกวัน วันละสัก 2 ช้อน ไม่ว่าจะเป็นของหวานของคาว หรือว่าของว่างก็ทั้งโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุสำคัญๆ หลายชนิด ต่างพากันไปชุมนุมอยู่ในถั่วเหล่านี้ ควรกินถั่วอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรกินครั้งละมากๆ เพราะมีแคลอรี่สูง อาจทำให้อ้วนได้

ถ้าปฏิบัติให้ได้ครบทุกข้อตามคำแนะนำข้างต้นนี้จนเป็นนิสัย สุขภาพดีๆ จะไปไหนเสีย !!

ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ 7 กรกฎาคม 2551 11:11 น. http://www.manager.co.th/MetroLife/ViewNews.aspx?NewsID=9510000079603

หมวดหมู่: การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
คำสำคัญ: สุขภาพ
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: อา. 20 ธ.ค. 2552 @ 21:01 แก้ไข: อา. 20 ธ.ค. 2552 @ 21:04

ความเห็น

1.
P
นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
เมื่อ พ. 23 ธ.ค. 2552 @ 17:11
#1754642 [ ลบ ]

เป็นบันทึกที่ดี น่าอ่านมากครับ

พึ่งบันทึกเห็น ครับ 555

Wednesday, December 23, 2009

น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น และสกัดร้อน 0% คอเลสเตอรอล

P
กานดา น้ำมันมะพร้าว
ผู้แทนชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่
อ่าน: 25
ความเห็น: 0

คำตอบ รองศาสตราจารย์ ดร.พงศธร สังข์เผือก น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น และสกัดร้อน 0% คอเลสเตอรอล

รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัย มหิดล (สถาบันวิจัยโภชนาการ)

เมื่อ 18 ธันวาคม 2552

ได้ถามน้ำมันมะพร้าวมีคอเลสเตอรอลหรือไม่

เรียนถาม อาจารย์พงศธร สังข์เผือก ที่เคารพอย่างสูง

1. สกัดเย็น 100% 0% ตอเลสเตอรอล หรือไม่

2. สกัดร้อน 100% มีคอเลสเตอรอลหรือไม่ หากมีเพราะอะไร

3. หัวกะทิสด มีคอเลสเตอรอลหรือไม่ หากมีมะพร้าวเป็นพืชทำไมถึงมี

(เพราะข้อมูลที่ทราบมา แต่ละสถาบันบอกเหมือนกันคือ

ไขมันจากพืชไม่มีคอเลสเตอรอลไขมันจากสัตว์เท่านั้นที่มีคอเลสเตอรอล)

4. หากข้อ 2. มีคอเลสเตอรอล การนำน้ำมันสกัดเย็นมาทำอาหาร

โดนความร้อน เกิดคอเลสเตอรอลหรือไม่

5. หากทุกข้อมีคอเลสเตอรอล การมีมาก น้อย แตกต่างกันหรือไม่

6. กรดลอริก ที่มีในน้ำนมแม่ และน้ำมันมะพร้าว กะทิ

และในน้ำมันที่มีอยู่ในเมล็ดปาล์มที่ทำน้ำมัน

ในอาหารหรือพืชอื่นมีอีกหรือไม่

คำตอบ........

เรียนคุณกานดา

ถ้ายึดตามทฤษฏี ที่ทราบมานานแล้วว่า พืชไม่มี Cholesterol

ดังนั้น ทุกข้อที่ถามมาก็คงตอบว่า ไม่มี Colesterol

สำหรับเรื่องที่อาจมีผู้พบบ้าง ในพืชบางตัวอย่าง

ขอให้ดูข้อมูลด้วยว่าที่รายงานนั้น พบเท่าไหร่

ที่พบเคยเห็นข้อมูลนั้นพบ เป็นส่วนในล้านส่วน

เมื่อคำนวณเป็นหน่วย ที่เรานิยมกันคือ

หน่วยมก/100 กรัม ก็คิดได้เพียง 0.001-0.05 มก/100กรัม

ซึ่งเท่ากับไม่มี

lauric acid อาจพบในอาหารอื่นได้ครับแต่คงน้อยมาก

เท่าที่หาพบข้อมูลก็เป็นที่เติม lauric acid ลงในอาหาร

และที่พบในนมแม่ ปาล์มก็อย่างที่คุณ กานดาทราบนั้นแหละครับ

ขอบคุณครับที่ถามมา

พงศธร

( เพิ่มข้อมูล อาจารย์พงศธร สังข์เผือก ได้ ในเน็ตฯ

ที่ชื่อท่าน หรือ สถาบันวิจัยโภชนาการม.มหิดล)

สาเหตุที่มีการถามหลังจากที่เผยแพร่มาแล้ว 9 เดือน

เพราะมีผู้ฟังบางท่านทราบข้อมูลมา บอก การสกัดร้อน และกะทิ

มีคอเลสเตอรอล จึงเกิดความ กังวลข้อมูลที่เผยแพร่ถูกต้องหรือไม่

ทั้งๆที่มั่นใจมานานแล้ว ทั้งๆที่ไม่ตรงกับหมอหลายท่านมาก

ที่บอกประชาชนว่าไม่ปลอดภัยกับร่างกาย

และอีกหลายๆข้อมูลที่ตรงข้าม กับที่กานดาเผยแพร่

ข้อมูลที่ออกเผยแพร่ ที่ได้มาคือ

1. การเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์

ของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

มหาวิทยาลัยมหิดล

2. สถาบันวิจัยพืชสวนกรมวิชาการเกษตร

3. ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา ประธานชมรมอนุรักษ์ และพัฒนาน้ำมันมะพร้าว

แห่งประเทศไทย(สนง.สถาบันวิจัยพืชสวนฯ)

4. ศาสตราจารย์ ดร. นิธิยา รัตนปนนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

การอาหารคณะอุสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

5. อาจารย์ สุวัฒน์ ทรัพยะประภา เจ้าของสูตรฮอร์โมนไข่

และจุลินทรีย์หน่อกล้วย ฯลฯ

6. ประสบการณ์การใช้ ของกานดา ทำเองใช้เองแล้วได้ผลดีต่อร่างกาย

7. ประสบการณ์ การใช้ของผู้ฟังวิทยุทั่วประเทศหรือรับการสอนโดยตรง

จากกานดาแล้วรายงานผล จากการใช้ให้ทราบ

ซึ่งเมื่อได้รับคำตอบจากอาจารย์ พงศธร สังข์เผือก

รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัยมหิดล

( สถาบันวิจัยโภชนาการ ม.มหิดล )

ก็ดีใจและสบายใจที่การเผยแพร่ถูกต้อง

องค์กรเภสัชกรรม( GPO )Call Center 1648

ที่กานดาโทรถามเรื่องคอเลสเตอรอล ตอบได้เฉพาะสกัดเย็น บอก 0%

แต่สกัดร้อน ให้ สอบถามเพื่อความแน่ใจให้ถามที่

สถาบันวิจัยโภชนาการ ม.มหิดล

จึงมีการถาม ตอบ ตามที่กล่าวข้างต้น

หมวดหมู่: การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: อา. 20 ธ.ค. 2552 @ 21:14 แก้ไข: อา. 20 ธ.ค. 2552 @ 23:16

Tuesday, December 8, 2009

กวาซา แพทย์ทางเลือก

กวาซา

กวาซา

เคยไปทำที่ตลลาดเจ้าพรหม อยุธยา ดีมากค่ะ

เลยมาหาดูว่าคืออะไร

ต้องยอมรับว่าศาสตร์แห่งการ บำบัดรักษาในแพทย์แผนจีนเป็นเรื่องที่น่าทึ่ง เพราะยิ่งค้นคว้า ศึกษาเจาะลึกลงไป ก็ยิ่งพบกับความมหัศจรรย์ เช่นเดียวกับการบำบัดนี้ ′กวาซา′ (Gua Sha)

กวา ซา เป็นศาสตร์การรักษาของจีนโบราณที่ได้รับการสืบทอดกันมาอย่างยาวนานมากกว่า 2,000 ปีมาแล้ว และยังคงได้รับความนิยมนำมารักษามาถึงปัจจุบัน คำว่า ′กวา′ (อ่านว่า Gwa) แปลว่า ′ขูด′ ส่วน ′ซา′ (อ่านว่า Shaw) นั้นหมายถึง ′รอยแดง′นั่นแปลว่า กวาซา คือ การบำบัดด้วยการขูดผิวหนังตามร่างกาย จนเป็นรอยแดง เสมือนเป็นการ ′ล้างพิษ′ ทางผิวหนังนั่นเอง

รอยแดงที่ ปรากฏนั้น จะเป็นส่วนที่สะท้อนถึงระบบอวัยวะภายในและกลไกการทำงานของร่างกาย ถ้าผู้มีสุขภาพดี เลือดลมดี รอยแดง หรือผื่นแดงที่ปรากฏจะเป็นรอยแดงจางๆ และจะหายไปในเวลาอันรวดเร็ว แต่ถ้าเป็นคนที่สุขภาพไม่ดี ร่างกายไม่สมดุล หรือมีสิ่งตกค้างในร่างกายมาก รอยแดงจะขึ้นอย่างชัดเจน และจะใช้เวลาราว 2-4 วันกว่ารอยจะหาย

กวา ซานี้จะมีแนวคิดและวิธีการคล้ายกับการกดจุดเพื่อช่วย ปรับสมดุลให้ร่างกาย เพียงแต่เปลี่ยนจากการกด มาเป็นการขูดด้วย ′เขาควาย′ หรือ ′หยก′ แทน

การ ขูดนี้จะเริ่มด้วยการลงน้ำมันสมุนไพรเพื่อลดการเสียดสี แล้วใช้เขาควายหรือหยกขูดผิว โดยทำมุมราว 45 องศา ขูดในแนวลงและในทิศทางเดียวกัน ในจุดที่สะท้อนถึงระบบต่างๆ ทั้งหน้าอก หลัง แขนพับข้อศอกด้านใน เข่าด้านใน หรือบ่า เป็นต้น เมื่อผิวถูกขูดก็จะเกิดสุญญากาศขึ้น ของเสียที่ตกค้างก็จะถูก ผลักออกมาในรอยผื่นแดง ผิวจะร้อนขึ้นเล็กน้อย รูขุมขนจะขยาย ในเวลาเดียวกัน ออกซิเจน สารอาหาร หรือสมุนไพรที่ทาไป ช่วงแรก ก็จะซึมเข้าสู่ผิวหนัง

การ ขูดนี้ก็จะไปช่วยจัดเรียงเส้นประสาทใหม่ ทำให้กล้ามเนื้อที่มีพังผืด หรือมีการบีบรัดอยู่คลายตัวออก ช่วยทำให้ระบบการหมุนเวียนของเลือดเป็นระบบมากขึ้น ทั้งยังช่วยปรับระบบต่อมน้ำเหลืองให้ขับของเสียได้ดียิ่งขึ้น เมื่อพิษตกค้างลดน้อยลง ร่างกายก็จะเข้าสู่ภาวะสมดุล สุขภาพก็จะแข็งแรงมากขึ้น

วิธีการนี้นอกจากจะได้รับความนิยมในประเทศจีนแล้ว ประเทศทางยุโรปและอเมริกาก็ยังให้ความสนใจไม่น้อย ด้วยเชื่อว่าจะสามารถรักษาโรคต่างๆ ทั้งอาการปวดเมื่อย ปวดชาตามร่างกาย ปวดข้อ ภูมิแพ้ ไข้หวัด อัมพฤกษ์ อัมพาต รอบเดือนมาไม่ปกติ หมอนรองกระดูกทับเส้น ไมเกรน ฯลฯ

สำหรับ ในประเทศไทย กวาซาได้เข้ามาแพร่หลายมาหลายปี และมีการปรับประยุกต์เพื่อการบำบัดในรูปแบบต่างๆ แต่ก็ยังคงยึดแนว ′การขูด′ เหมือนเดิม โดยอาจจะเปลี่ยนวัสดุอุปกรณ์ไปในรูปต่างๆ อาทิ ช้อน ชาม งาช้าง หรือก้อนหิน มาใช้แทน นอกจากนี้ยังมีการนำกวาซามาใช้เพื่อความงามอีกด้วย

′ ซีที สปา′ สปาที่นำศาสตร์ของไทยและจีนมาผสมผสานเพื่อการบำบัดและความงาม ได้ใช้กวาซามาใช้ปรับแก้ไขรูปร่างที่มีปัญหาส่วนเกินให้กลับมากระชับเข้าที่ ได้ในทุกสัดส่วน ทั้งยังนำมาช่วย ในการลดริ้วรอยทำให้ผิวหน้ากระจ่างใสได้อีกด้วย ด้วยการใช้บันได 3 ขั้น เผาผลาญ ขับน้ำ-ล้างพิษ และกระชับสัดส่วน

กรรมวิธี นี้ไม่ว่าจะเป็นการลดหุ่น หรือกระชับผิวหน้า ก็จะใช้วิธีคล้ายคลึงกัน คือเริ่มจากการชำระร่างกายหรือผิวหน้าให้สะอาดหมดจด ก่อนที่จะอาบอบด้วยน้ำมันหอมระเหย ถ้าเป็นใบหน้าก็จะใช้โสมมาขัดผลัดเซลล์ผิวและพ่นไอเย็นแทน ไอร้อนเพื่อหยุดการสร้างเม็ดสีของผิว

จาก นั้นจึงนวดและขูดแบบวิธีกวาซา ตามด้วยนวดกระชับสัดส่วน กระตุ้นการเผาผลาญ ไล่ไขมันที่สะสม ปิดท้ายด้วยการแร็ปเพื่อกำจัดเซลลูไลต์ เช่นเดียวกับผิวหน้าที่จะปิดท้ายด้วยการทรีตเมนต์ผิวหน้า ใช้เครื่องซูเปอร์โซนิกผลักครีมบำรุงให้เข้าสู่ผิวอย่างล้ำลึก ทั้งยังกระตุ้นคอลลาเจน ช่วยทำให้ผิวหน้าแข็งแรง มีเลือดฝาด และช่วยให้หลับสนิทได้อีกด้วย

นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของความงามที่พัฒนาต่อยอดมาจากศาสตร์สุขภาพนับพันปี ศาสตร์สุขภาพที่ใช้การปรับสมดุลช่วยให้งามได้อย่าง ′ฮองเฮา

ขอขอบคุณ

http://www.kroobannok.com/blog/17828

หมวดหมู่: การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
คำสำคัญ: กวาซา
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: จ. 30 พ.ย. 2552 @ 02:54 แก้ไข: จ. 30 พ.ย. 2552 @ 02:54

ความเห็น

1.
P
ธีรมนต์
เมื่อ จ. 30 พ.ย. 2552 @ 06:15
#1705359 [ ลบ ]

ขอบคุณความรู้ใหม่บทบันทึกนี้ครับ

2.
P
pepra
เมื่อ จ. 30 พ.ย. 2552 @ 11:47
#1705726 [ ลบ ]

เข้ามารับความรู้ใหม่ ๆ ดี ๆ

มีสาระด้วยคนค่ะ

3.
P
ชนิศา
เมื่อ ส. 05 ธ.ค. 2552 @ 09:33
#1715709 [ ลบ ]

ค่ะ

Friday, July 31, 2009

นิยามการแพทย์ทางเลือก

  • ไม่ใช่การแพทย์แผนปัจจุบัน
  • ไม่ใช่แพทย์แผนไทย
เช่น การนวด ทำสมาธิ
สุคนธาบำบัด การฝังเข็ม พลังลมปราณ รำมวยจีนรักษาโรค ไล่ปอบ เข้าทรง มีดหมอ

Wednesday, May 6, 2009

การแพทย์ทางเลือกต้องเริ่มต้นอย่างไร

ก่อนอื่น การหาความรู้ที่จำเป็น
การรู้บริบทของตนเอง ไม่ลอกคนอื่นมา
กำหนดกิจกรรมที่ทำให้ผู้ป่วย ให้ชัดเจน
การแพทย์ทางเลือกไม่ใช่เรื่องงมงาย

Monday, April 6, 2009

สิ่งสำคัญในการแพทย์ทางเลือก

การแพทย์ทางเลือก จะมีคุณค่า ต้อง มีลักษณะัดังต่อไปนี้

  1. ไม่แพงจนน่าเกลียด
  2. ไมโ้อ้อวดสรรพคุณเกินจริง
  3. มีหลักฐานวิชาการ มายืนยัน
  4. ไม่ยาก ในการนำไปใช้

Friday, March 27, 2009

อานิสงค์ของสมาธิบำบัด

การฝึกสมาธิแนวพุทธนั้น มีประโยชน์มากมายได้แก่

  1. การลดความเครียด ความทุกข์
  2. ลดระดับความดันโลหิต
  3. ลดชีพจร
  4. ลดอัตราการหายใจ
  5. ลดอการปวดทรมาน
  6. แก้ปัญหานอนไม่หลับ
  7. บรรเทาอาการซึมเศร้า่
  8. ลดระดับน้ำตาลในเลือด
การฝึกสมาธิแนวพุทธ เราจำเป็นต้องเข้าใจ หัวใจศาสนาเสียก่อน
ศาสนาพุทธสอนให้ลดความยึดมั่นถือมั่น เพื่อลดอัตตาและพ้นทุกข์ได้ในที่สุด

Wednesday, March 25, 2009

การแพทย์ทางเลือก เพื่อการเยียวยาผู้ป่วย

การแพทย์ทางเลือก คือ การแพทย์นอกกระแสหลัก

อาจประกอบด้วยการแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์แขนงอื่น ที่ไม่ใช่การแพทย์แผนปัจจุบัน

ได้แก่
  • การแพทย์แผนไทย
  • แผนจีน
  • อายุรเวทอินเดีย
  • สมาธิ
  • จินตภาพบำบัด
  • การนวด
ในการประเมิน คุณค่า ต้องอาศัยการอ้างอิงงานวิจัยพอสมควร
ดังนั้นการแพทย์ทางเลือกต้องระวัง อย่าหลงเชื่ออะไรง่ายๆ

ระวังจะถูกหลอก และตกเป็นเหยื่อ กับการแพทย์พาณิชย์ได้