Sunday, January 17, 2010

อาหารเพื่อประสิทธิภาพของสมอง

อาหารเพื่อประสิทธิภาพของสมอง

หาก คุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังสงสัยเกี่ยวกับอาหารที่ทานเข้าไปในแต่ละวัน งานวิจัยล่าสุดพบว่า การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง มีคุณค่าทางโภชนาการสูง จะช่วยให้คุณมีพื้นที่ในท้องสำหรับอาหารแคลลอรี่สูงน้อยลง และอาหาร 5 ชนิดต่อไปนี้สามารถทำให้คุณมีสมองที่เปี่ยวประสิทธิภาพมากขึ้น

ไข่

การ รับประทานไข่ในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยให้คุณภาพของสมองของคุณมีประสิทธิภาพดีเทียบเท่ากับคนที่อายุอ่อนกว่า ถึง 10 ปี ควรรับประทานไข่ปริมาณ 55 ไมโครกรัมทุกวัน
เมนูแนะนำ ไข่เจียวผัก

ผักขม, กะหล่ำปลี

สาร แคโรทีนอย และ ฟลาโวนอย ในผักสีเขียวเข้มนี้มีประโยชน์ต่อสมองเป็นอย่างมาก สามาถช่วยให้คุณรู้สึกเด็กลงไปได้อีก รับประทาน 3 มื้อ หรือมากกว่า ต่อวัน สามารถชะลอภาวะหดหู่ของจิตใจอันเกิดจากอายุที่เพิ่มขึ้นได้ถึง 40 %

บลูเบอร์รี่

สารประกอบในบลูเบอร์รี่จะช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ รวมทั้งริ้วรอยที่เกิดจากวัยได้

วอลนัทและปลา

นอก จากปลาแซลมอนแล้ว สารโอเมก้า 3 สามารถพบได้ในลูกวอลนัทอีกด้วย ดีเอชเอในโอเมก้า 3 จะทำหน้าที่ซ่อมแซมเซลล์สมอง ทำให้สมองของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น ปริมาณที่เหมาะสมคือ 600 มิลลิกรัมต่อวัน

มัสตาร์ด

ขมิ้น ส่วมผสมในมัสตาร์ด สามารถช่วยกระตุ้นให้ยีนส์ ซึ่งทำหน้าที่กำจัดขยะในสมอง(ตัวทำลายเซลล์สมอง) ปริมาณที่เหมาะสมของขมิ้นที่ควรได้รับต่อวันคือ 17 มิลลิกรัม หรือประมาณมัสตาร์ดหนึ่งช้อนชา

ที่มา fooddrinks

: กาย
: ข่าว
: สุขภาพดี
อัมพวรรณ 03 ม.ค. 2553 04 ม.ค. 2553
ความคิดเห็น (2)

รูปสลับกันรึป่าวค่ะ

แบม (117.47.179.106) 04 มกราคม 2553 - 21:37 (#629)

แก้ไขแล้ว ขอบคุณมากค่ะ

อัมพวรรณ 05 มกราคม 2553 - 11:07 (#631)

Friday, January 15, 2010

ไม้ประดับกำจัดสารพิษ

ไม้ประดับกำจัดสารพิษ

ปัจจุบัน อาคารสำนักและบ้านเรือนมักนิยมปลูกไม้ประดับในอาคาร เพื่อสร้างบรรยากาศในอาคารให้ใกล้ชิดธรรมชาติ จึงมีไม้ประดับไม่กี่ชนิดที่เหมาะกับสภาพอากาศที่ปราศจากแสงแดดแต่อยู่ได้ ด้วยแสงจากหลอดไฟฟ้าและมีคุณสมบัติพิเศษช่วยกำจัดสารพิษได้ด้วย

ดร. บี ซี วูฟเวอร์ตัน (Dr. B.C. Wolverton) นักวิจัยแห่งสถาบันวิจัยอวกาศนาซ่าได้ทำการวิจัยพบคุณสมบัติของไม้ประดับใน การกำจัดสารพิษหรือมลภาวะในอากาศได้อย่างดีและผลการวิจัยนี้ได้พิมพ์เผยแพร่ ทั่วโลกในหนังสือชื่อ Eco-Friendly House Plant (ไม้ประดับที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม) ได้แนะนำไม้ประดับจำนวน 50 ชนิด ที่มีคุณสมบัติในการดูดไอพิษจากอากาศไม่ว่าจะเป็นฟอร์มาลดีไฮด์ แอมโมเนีย ไซลีน ทูลีน รวมทั้งไอเสียที่เกิดจากมนุษย์ ซึ่งไม้ประดับเหล่านี้เป็นไม้ประดับที่เรารู้จักเป็นอย่างดี สวยงามดูแลรักษาง่าย นิยมปลูกกันทั่วไป เพียงแต่เราไม่สนใจที่จะรู้ถึง คุณสมบัติในการดูดสารพิษของไม้ประดับเหล่านี้มาก่อน ดังนั้นเรามาศึกษากันว่ามีไม้ประดับชนิดใดบ้างที่สามารถกำจัดสารพิษได้ อาทิ

สาวน้อยประแป้ง (Dumb Cane)
สาว น้อยประแป้ง เป็นไม้ประดับทีนิยมนำมาปลูกทั้งภายนอกและภายในอาคารมานานแล้ว เพราะเลี้ยงง่าย ทน และใบมีลวดลายสวยงาม แต่ น้อยคนที่จะรู้ถึงคุณค่าของสาวน้อยประแป้งในฐานะเป็นไม้ที่ช่วยฟอกอากาศ สามารถดูดสารพาได้มากชนิดหนึ่ง สาวน้อยประแป้งมีใบใหญ่คล้ายใบพาย มีตั้งแต่สีเขียวอ่อน เขียวแก่ไปจนถึงสีเหลืองอ่อนๆมีลายแต้มประปรายสีขาวหรือเหลืองอ่อน จึงได้ชื่อว่า สาวน้อยประแป้ง เป็นไม้ประดับที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่ม ชอบอากาศอบอุ่นและความชื้นสูง แต่ก็สามารถปรับตัวเจริญเติบโตได้ดีในห้องที่มีความเย็นและสภาพอากาศแห้ง จึงเป็นพืชที่ปลูกและดูแลได้ง่าย

หมากเหลือง (Areca Palm หรือ Yellow Palm)
หมาก เหลือง เป็นไม้ประดับภายในอาคารที่นิยมปลูกชนิดหนึ่ง มีความสวยงาม ทนทานต่อสภาพแวดล้อมภายในอาคาร และคายความชื้นภายในห้องได้ดี มีประสิทธิภาพสูงในการดูดสารพิษจากอากาศได้ในปริมาณมาก หมากเหลืองเป็นพืชตระกุลปาล์มที่ปลูกง่าย โตเร็ว เป็นพันธ์ไม้ขนาดกลาง สูงประมาณ 5-10 เมตร ลำต้นมีลายคล้ายข้อปล้อง โค้งงอและตั้งตรงได้สัดส่วนสวยงาม ขยายพันธ์ด้วยการแตกหน่อเป็นกอประมาณ 5-12 ต้น ใบมีลักษณะเป็นรูปขนนก แผ่นใบมีสีเขียวเหลือง ออกดอกเป็นช่อสีเหลืองอ่อน หมากเหลืองขนาดสูง 1.8 เมตรจะคายน้ำประมาณ 1 ลิตร ทุกๆ24 ชั่วโมง ในบรรดาไม้ประดับดูดสารพิษด้วยกัน หมากเหลือง เป็นพืชที่ดูดสารพิษจากอากาศได้ในประมาณมากที่สุดชนิดหนึ่ง แนะนำให้ปลูกไว้ใน อาคารสำนักงาน หรือ บ้านเรือน

เดหลี (Peace Lily)
เด หลีเป็นไม้ประดับที่โดดเด่นมากชนิดหนึ่ง เนื่องจากให้ดอกสีขาวที่สวยงาม นิยมนำไปเป็นไม้ประดับในอาคาร เป็นไม้ที่คายความร้อนสูง มีคุณสมบัติสูงในการดูดสารพิษในอาคาร เดหลีเป็นไม้ประดับที่มีใบสีเขียมเข้ม มันเป็นวาว ดอกเป็นช่อสีขาวหรือแกมเหลือง กาบหุ้มช่อดอก มีสีขาวคล้ายดอกหน้าวัว เป็นไม้พุ่มเตี้ยสูงประมาณ 30-60 เซนติเมตร โดยธรรมชาติเดหลีชอบขึ้นอยู่ตามริมลำธารที่มีร่มเงาในป่าฝนเขตร้อน แต่เมื่อนำมาปลูกเป็นไม้ประดับในอาคาร เดหลีก็สามารถปรับตัวได้ดี แม้จะมีความชื้นต่ำและรับแสงจากหลอดไฟ เพียงแต่ดินต้องมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ เป็นไม้ประดับในจำนวนน้อยชนิดที่สามารถออกดอกได้ภายในอาคาร เดหลีสามารถดูดสารพิษจำพวกแอลกอฮอล์ อาซีโตน ไตรคลอไรเอทีลีนีน เบนซีน และฟอร์มาลดีไฮด์ จึงเหมาะที่จะนำเดหลีประดับไว้ในสำนักงานหรือบ้านเรือน

เยอบีร่า (Gerbera Daisy)
เยอ บีร่าไม้ประดับที่ให้ดอกสีสวยสดใส และคงทนอยู่นาน แม้จะตัดออกมาพักแจ ก็ยังอยู่ได้นานหลายวัน จึงเป็นไม้ประดับที่นิยมนำมาประดับในอาคาร มีคุณสมบัติสูงในการดูดสารพิษจากอากาศภายในได้ดีเยี่ยม เยอบีร่าเป็นไม้พุ่มมีลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบเป็นแฉกมีสีเขียวสด ก้านใบและใบมีขนละเอียด ก้านดอกแตกออกจากลำต้นใต้ดิน ยาวตั้งตรง ดอกมีสีสันหลากหลาย เช่น แดง ส้ม เหลือง ม่วง ชมพู ขาว มีอัตราการคายความชื้นสูง จึงเป็นไม้ประดับอีกชนิดหนึ่งที่มีคุณค่า เหมาะแก่การปลูกไว้ในอาคารสำนักงานและบ้านเรือน

วาสนาอธิษฐาน (Cornstalk Plant)
วาสนา อธิฐาน เป็นไม้ที่มีขนาดใหญ่สูงประมาณ 5-6 เมตร ชอบแสงแดดจัด นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับในอาคาร เนื่องจากรูปทรงสวยแปลกตาและคงทนอยู่ได้ในที่มีแสงสว่างน้อย วาสนาอธิฐานมีลำต้นตั้งตรงมีสีน้ำตาลอ่อน ใบแตกจากหน่อที่ปลายลำต้น เป็นใบเดียวลักษณะเรียวยาว ปลายแหลมโคนสอบเข้าหาใบซึ่งเป็นกาบติดกับลำต้น พื้นใบมีสีเขียวมีลายสีเหลืองพาดกลางไปตามความยาวของใบ ใบอ่อนจะแตกตรงส่วนยอดของต้น ดอกออกเป็นช่อสีเหลือง กลิ่นหอมส่งกลิ่นไปได้ไกล นิยมนำลำต้นของวาสนาอธิฐานมาตัดเป็นท่อนๆยาว6-8นิ้วแล้วตั้งในถาดตื้นหล่อ น้ำไว้นำไปตั้งประดับดุสวยงาม วาสนาอธิฐานเป็นไม้ประดับอีกชนิดหนึ่งที่ดูดสารพิษภายในอาคารจำพวก ฟอร์มาลดีไฮด์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เอกสารอ้างอิง

  1. พรรณไม้กำจัดสารพิษ [ออนไลน์][อ้างอิงวันที่16 January 2007] เข้าถึงได้จาก: http://www.panmai.com/Pollution/Pollution.shtml
  2. ไม้ ประดับภายในอาคาร [ออนไลน์][อ้างถึงวันที่ 16 January 2007] เข้าถึงได้จาก: http://www.maipradabonline.com/maipradabin/sawnoiypabang.htm

สำนักหอสมุดและศูนย์สนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทร 0 2201 7250
E-mail apinya@dss.go.th

: สังคม
: บทความ
: สิ่งแวดล้อมดี
พรรณภัทร 17 พ.ย. 2552 18 พ.ย. 2552

Monday, January 11, 2010

เด็ก ๆ ก็ต้องการการนวดบำบัด

เด็ก ๆ ก็ต้องการการนวดบำบัด

นักวิจัยด้านพัฒนาการเด็กของสหรัฐ พบว่า การนวด ช่วยให้เด็กหลับได้ง่ายขึ้น

ซี บิล ฮาร์ท จากมหาวิยาลัยเทคซัสเทคโนโลยี ได้เสนอ 12 วิธีการเพื่อช่วยให้เด็กนอนหลับ เธอกล่าวว่า จากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า การนวดช่วยบรรเทาความเจ็บปวด และลดความวิตกกังวลในเด็ก และ ยังช่วยเพิ่มพัฒนาการทางสมอง แต่อย่างไรก็ตาม เคล็บลับที่สำคัญคือ ทำอย่างไรจะให้เด็กอยู่นิ่งได้นาน ๆ

เธอกล่าวว่า “เด็ก ๆ เป็นกลุ่มที่ต้องการการนวดเป็นอย่างมาก แต่มักไม่ค่อยได้รับการนวด”

ด้วย เหตนี้ เธอได้นำเสนอโปรแกรมเพื่อช่วยในการนวดที่ชื่อว่า ลัลลบาย มาซสาจ จังหวะและการสัมผัส เพื่อเด็กและทารก (“Lullaby Massage: Rhyme & Touch Massage for Infants and Children) โดยการรวมเอาเนื้อเพลง ซึ่งมีเนื้อหาเพื่อสอนพ่อแม่ และ เพื่อดึงดูดเด็ก ๆ ด้วยการแสดงท่าทางต่าง ๆ อาทิ วาดภาพ รับโทรศัพท์ เพื่อให้การนวดประสบความสำเร็จ

ที่มา UPI

: กาย
: ข่าว
: สุขภาพดี
อัมพวรรณ 29 ธ.ค. 2552 29 ธ.ค. 2552

Friday, January 8, 2010

หม่อน ผลไม้มหัศจรรย์

หม่อน ผลไม้มหัศจรรย์

หม่อน จัดเป็นไม้ยืนต้นประเภทไม้พุ่ม อยู่ในวงศ์ Moraceae มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า มัลเบอร์รี่ (mulberry) หม่อนมีสรรพคุณเชิงสมุนไพรอย่างอเนกอนันต์ สรรพคุณทางยาที่ได้มีผู้วิจัยไว้มากมาย เช่น ยอดอ่อนของหม่อน เมื่อนำมาต้นเพื่อดื่มและล้างตาจะสามารถผ่อนคลายและบำรุงสายตา ใบหม่อน มีสารออกฤทธิ์กลุ่มฟลาโวนอยด์ ไฟโตสเตียรอล ไตรเทอปีน อัลคาลอย เซราไมด์ และน้ำมันหอมระเย นอกจากนี้พบว่า มีสารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เช่น คาร์โบไฮเดรต เพคติน โปรตีน เส้นใยอาหาร รวมทั้งวิตามินบี วิตามินซี และแคโรทีน

ผลการศึกษาการใช้ประโยชน์จากใบหม่อน โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น รายงานว่าใบหม่อนสามารถช่วยลดปริมาณคลอเลสเตอรอล ลดปริมาณน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต และลดอัตราการตายของหนูที่เป็นมะเร็งในตับอย่างได้ผล
ผล ใบหม่อนสุกให้รสชาติหวานอมเปรี้ยว มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ บำรุงเลือด และหนังสือ Modern Chinese Material Media ให้สมญาผลหม่อนว่า เป็น Blood tonic นอกจากนี้มีรายงานจากสถาบันวิจัยหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ได้ศึกษาวิจัยพบว่าผลหม่อนสด และผลหม่อนแห้ง มีสารประกอบเควอซิติน ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

เครื่องดื่มจากน้ำผลหม่อน พบว่ามีสรรพคุณทางยา เนื่องจากมีสารอัลคาลอยด์ที่เรียกว่า deoxnojirimycin (DNJ) ผลการวิจัยพบว่าส่วนเปลือกรากของหม่อนสามารถนำมาสกัดทำยารักษาโรคเบาหวานได้ นอกจากนี้ผลการศึกษาของคณะนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ได้รายงานว่า สาร DNJ มีผลในการยับยั้งโรคเอดส์ในสัตว์ทดลองได้

: กาย
: บทความ
: สุขภาพดี
: ผล หม่อน ใบ
พรรณภัทร 29 ธ.ค. 2552 29 ธ.ค. 2552
ความคิดเห็น (0)

Wednesday, January 6, 2010

กระเทาะเปลือก น้ำมันหอมระเหย

กระเทาะเปลือก น้ำมันหอมระเหย

น้ำมัน หอมระเหย (essential oil) เป็นสารอินทรีย์ที่พืชสร้างขึ้น มักมีกลิ่นหอม ระเหยง่าย โดยพืชเหล่านี้จะมีเซลล์พิเศษ ต่อมหรือท่อ เพื่อสร้างและกักเก็บน้ำมันหอมระเหย น้ำมันหอมระเหยพบได้ตามส่วนต่างๆ ของพืช ได้แก่ ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เมล็ด กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยในส่วนของดอกไม้ มีบทบาทสำคัญในการช่วยดึงดูดแมลงมาผสมเกสร แต่สำหรับน้ำมันหอมระเหยในส่วนอื่นๆ ของพืช เชื่อว่ามีผลในการป้องกันตนเองจากศัตรูภายนอก ที่จะมาทำลายพืชนั้นๆ รวมทั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคพืช นอกจากนี้ยังมีน้ำมันหอมระเหยจากสัตว์ที่รู้จักกันดีมีอยู่ 4 ชนิด ได้แก่ กลิ่นจาก civet (zebeth) กลิ่นจาก castroreum ซึ่งเป็นสิ่งขับถ่ายจากกระเปาะใกล้อวัยวะสืบพันธ์ ของตัวชะมดและตัวนาก ตามลำดับ กลิ่นจากอำพันทอง (ambergris) ที่ได้จากสำรอกของปลาวาฬหัวทุย และกลิ่นจาก musk ซึ่งเป็นผงไขมันแข็ง สีคล้ำ อยู่ภายในกระเปาะที่เป็นถุงหนังของกวางภูเขา แต่น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากสัตว์นี้จะมีราคาแพงมาก และมีการต่อต้านการใช้เนื่องจากต้องคร่าชีวิตสัตว์จึงจะได้มา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาวาฬหัวทุย และกวางภูเขา

น้ำมันหอมระเหยเข้า มาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราอยู่เสมอ มีประโยชน์ใช้แต่งกลิ่นในอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ เช่น ซุป ลูกกวาด เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์นม ในอุตสาหกรรมน้ำหอมจะใช้วัตถุดิบจากส่วนต่างๆ ของพืช เช่น จากส่วนดอกนำมาทำเป็นน้ำมันกุหลาบ น้ำมันกระดังงา น้ำมันมะลิ จากส่วนใบนำมาทำเป็นน้ำมันเจอราเนียม น้ำมันโรสแมรี น้ำมันเบอร์กามอท จากส่วนเมล็ดนำมาทำเป็นน้ำมันอัลมอนด์ จากส่วนเปลือกนำมาทำเป็นน้ำมันสน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมและเภสัชภัณฑ์ต่างๆ เช่น น้ำมันกานพลู สามารถฆ่าเชื้อโรคได้จึงนำมาใช้ผสมในน้ำยาบ้วนปาก น้ำมันยูคาลิปตัสใช้แก้หวัดน้ำมันไพล ใช้แก้อาการปอดบวมปกช้ำ น้ำมันเปปเปอร์มินต์ ใช้ขับลมและแต่งกลิ่นยาเป็นต้น

กรรมวิธีการนำน้ำมันหอมระเหยจากพืชได้มาจากกระบวนการทางเคมี 5 วิธีดังนี้

  1. การก ลั่น เป็นวิธีที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายเนื่องจากเป็นวิธีที่ประหยัด โดยการให้ไอน้ำผ่านพืชสมุนไพรที่จะสกัดน้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในหม้อกลั่น น้ำมันหมอระเหยจะแยกตัวออกจากชั้นน้ำ ทำให้สามารถที่จะนำออกมาใช้ได้ง่าย น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้โดยวิธีนี้ได้แก่ น้ำมันไพล น้ำมันตะไคร้ เป็นต้น
  2. การ สกัดด้วยน้ำมันสัตว์ วิธีนี้เหมาะสำหรับการสกัดน้ำมันหมอระเหยจากดอกไม้กลีบบาง เช่น ดอกมะลิ ดอกกุหลาบ เป็นต้น วิธีการคือ แช่พืชสมุนไพรไว้ในน้ำมันสัตว์ (นิยมใช้ไขวัว) หลายวันเพื่อให้น้ำมันดูดกลิ่นหอมออกมา น้ำมันจะดูดซับกลิ่นหมอไว้ จากนั้นใช้ตัวทำละลายสกัดน้ำมันหอมระเหยออกจากน้ำมันสัตว์ แล้วนำไประเหยไล่ตัวทำละลายออก ข้อเสียคือใช้เวลานาน
  3. การสกัด ด้วยสารเคมี วิธีนี้จะใช้กับพืชสมุนไพรที่ทนความร้อนสูงไม่ได้ เช่น มะลิ การสกัดแบบนี้จะได้น้ำมันหอมระเหยที่เรียกว่า absolute oil และหลังจากการสกัดต้องระเหยสารละลายที่ใช้เป็นตัวสกัดออกให้หมด ซึ่งสารละลายที่นิยมใช้เป็นตัวสกัดคือ แอลกอฮอล์ วิธีนี้จะได้น้ำมันหอมระเหยและกลิ่นออกมา แต่น้ำมันหอมระเหยที่ได้จะมีปริมาณน้อยและไม่บริสุทธิ์
  4. การคั้น หรือบี วิธีนี้มักใช้กับเปลือกผลไม้ตระกูลส้ม เช่น ส้ม มะนาว มะกรูด วิธีการคือนำเปลือกของผลไม้มาบีบ จะทำให้เซลล์กระเปาะที่เก็บน้ำมันหอมระเหยแตกออก และปลดปล่อยน้ำมันหอมระเหยและกลิ่นออกมาก แต่น้ำมันหอมระเหยที่ได้จะมีปริมาณน้อยและไม่บริสุทธิ์
  5. การสกัด ด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เหลว เป็นเทคนิคใหม่ เหมาะสำหรับการสกัดสารที่สลายตัวง่ายเมื่อถูกความร้อน วิธีการคือปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เหลว ที่ความดันสูงผ่านพืชสมุนไพร ซึ่งวิธีนี้จะมีต้นทุนการผลิตที่สูง แต่จะได้น้ำมันหอมระเหยที่มีคุณภาพดีและมีความบริสุทธิ์สูง

สรรพคุณของน้ำมันหอมระเหย

  1. ทาง ผิวหนัง ระงับเชื้อจากบาดแผล แมลงกัดต่อย เช่น น้ำมันไทม์ น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันกานพลู และน้ำมันลาเวนเดอร์สร้างเนื้อเยื้อสมานแผล เช่นน้ำมันลาเวนเดอร์ น้ำมันกุหลาบและน้ำมันเจอราเนียม ระงับกลิ่นสำหรับผู้ที่มีเหงื่อออกมาก ทำความสะอาดบาดแผล เช่น น้ำมันลาเวนดอร์ น้ำมั้นไทม์และน้ำมันตะไคร้
  2. ระบบการไหลเวียน กล้ามเนื้อและข้อต่อ ลดความดันโลหิต ความเครียด เช่น น้ำมันกระดังงา น้ำมันลาเวนเดอร์ ปรับการไหลเวียนของโลหิต สำหรับแก้บวม อักเสบ เช่นน้ำมะนาว
  3. ระบบหายใจ ขับเสมหะ สำหรับหวัด ไซนัส ไอ เช่น น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันสน น้ำมั้นไม้จันทน์ คลายกล้ามเนื้อกระตุกในโรคหืด ไอกรน เช่น น้ำมันเขียว น้ำมันแคโมมิลล์
  4. ระบบประสาท ช่วยให้สงบระงับ เช่น น้ำมันไม้จันทน์ น้ำมันมะกรูด น้ำมันลาเวนเดอร์ ช่วยกระตุ้นประสาท เช่น น้ำมันมะลิ น้ำมันกานพลู น้ำมันสะระแหน่

ข้อควรระวังในการใช้น้ำมันหมอระเหย

  1. ควรเจือจางน้ำมันหมอระเหยก่อนใช้ ไม้ควรให้สัมผัสบริเวณรอบดวงตาและผิวที่อ่อนบาง
  2. ก่อนใช้น้ำมันหอมระเหยควรทดสอบว่าเกิดอาการแพ้หรือไม่
  3. น้ำมัน หอมระเหยบางชนิดทำให้ผิวหนังมีความไวต่อแสดงแดดมากขึ้น เช่นน้ำมันมะกรูด น้ำมันมะนาว จึงควรหลีบเหลี้ยงการถูกแสงแดดหลังจากใช้อย่างน้อย 4 ชั่วโมง
  4. สตรี ระหว่างตั้งครรภ์หลีบกเลี่ยงน้ำมันหอมระเหยต่อไปนี้ คือ น้ำมันโหระพา น้ำมันกานพลู น้ำมันเปปเปอร์มินต์ น้ำมันกุหลาบ น้ำมันโรสรี่ น้ำมันไทม์ น้ำมันจาร์โจแรม น้ำมันวินเทอร์กรีน และน้ำมันเมอร์
  5. ผู้ที่เป็นโรคลมชักและผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงน้ำมันโรสรี่ น้ำมันเซจ
  6. ควรเก็บน้ำมันหอมระเหยในขวดสีชา ในที่ปลอดภัยห่างจากมือเด็กและเปลวไฟ
  7. ไม่ควรรับประทาน เว้นแต่ได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์
: กาย
: บทความ
: สุขภาพดี
พรรณภัทร 04 ม.ค. 2553 05 ม.ค. 2553

Saturday, January 2, 2010

ชาเขียวช่วยอารมณ์ดี

อ่าน: 41
ความเห็น: 1

ชาเขียวช่วยอารมณ์ดี

การศึกษาจากญี่ปุ่นพบ คนสูงอายุที่ดื่มชาวันละหลายๆ ถ้วย อารมณ์ดีขึ้น ซึมเศร้าน้อยลง [ Reuters ]

...

อ.ดร.ไกจัน นิว และคณะจากมหาวิทยาลัยโทโฮกุ ญี่ปุ่น ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างอายุ 70 ปีขึ้นไป 1,058 คน

ผลการศึกษาพบว่า คนที่ดื่มชาเขียวอย่างน้อย 4 ถ้วย/วัน มีอาการซึมเศร้าน้อยลง 44% เมื่อเทียบกับคนที่ดื่มไม่เกินวันละ 1ถ้วย

...

การศึกษาอีกหลายรายงานพบ ชาเขียวช่วยลดความรู้สึกร้ายๆ ทางใจออกไป

ผู้ชายอเมริกัน 34% และผู้หญิงอเมริกัน 39% มีอาการโรคซึมเศร้า, ในจำนวนนี้มีอาการหนักประมาณ 20% ในผู้ชาย และ 24% ในผู้หญิง

...

อ.เนียวกล่าวว่า ชาเขียวมีกรดอะมิโน (ส่วนย่อยของโปรตีน) ที่ชื่อ "ตีอานีน (theanine)" ซึ่งเชื่อกันว่า มีฤทธิ์คลายเครียดได้

การ ศึกษาอื่นๆ พบว่า ชา-กาแฟมีส่วนช่วยลดเสี่ยงเบาหวาน, ชาดำ (ชาฝรั่งหรือชาจีน) มีส่วนช่วยลดเสี่ยงสโตรค (stroke) หรือกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่มา

  • Thank Reuters > Feeling old and blue? Green tea may help. December 18, 2009. / Source > American Journal of Clinical Nutrition, December 2009
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. > 19 ธันวาคม 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมวดหมู่: การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน Cc-by-nc-sa
สร้าง: อา. 20 ธ.ค. 2552 @ 20:51 แก้ไข: อา. 20 ธ.ค. 2552 @ 20:51

ความเห็น

1.
P
พันตำรวจโทสุพจน์ มัจฉา
เมื่อ อา. 20 ธ.ค. 2552 @ 20:54
#1748791 [ ลบ ]

สวัสดีครับ แวะเข้ามาเยี่ยมเยียน

ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆ ที่ได้รับคืนนี้ด้วยนะครับ

ชื่อ: นาย ศุภรักษ์ ศุภเอม
อีเมล: frxbaby@yahoo.com
IP แอดเดรส: 119.31.14.215
ข้อความ:
เรียกใช้งานตัวจัดการข้อความ

ยกเลิก หรือ ดูตัวอย่างก่อนบันทึก หรือ

บันทึกอื่นๆ