Tuesday, December 29, 2009

ว่าด้วยเรื่อง "สุวคนธบำบัด"

ว่าด้วยเรื่อง "สุวคนธบำบัด"

สุวคนธบำบัด (Aromatherapy)

ใน ปัจจุบันมนุษย์เริ่มหันมาเอาใจใส่ต่อสุขภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะวิธีใดที่ทำให้สุขภาพกาย สุขภาพใจดี จะแสวงหามาสู่ตนเองเสมอ ปรกอบกับกระแสความนิยมในการกลับสู่ธรรมชาติมีมากขึ้น คนเราจึงพยายามปรับตัวเองเข้าสู่ธรรมชาติให้มากที่สุด สุวคนธบำบัดหรือ Aromatherapy เป็นวิธีการรักษาอีกทางเลือกหนึ่งที่นำพืชหรอสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมมาใช้ ประโยชน์ในการรักษาทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ที่จริงแล้วสุวคนธบำบัดมีการใช้กันมานานและหยุดความนิยมลงช่วงหนึ่งก่อนที่ จะกลับมาได้รับความนิยมสนใจอีกครั้งในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา

Aromatherapy มาจากคำว่า Aroma ซึ่งแปลว่า กลิ่นหอม และ therapy หมายถึงการบำบัดรักษา Aromatherapy หรือ สุวคนธบำบัด จึงหมายถึง การบำบัดรักษาด้วยกลิ่นหอม โดยที่กลิ่นหอมนี้ส่วนใหญ่ได้จากน้ำมันหอมระเหย (essential oil) ที่สกัดได้จากส่วนต่างๆของพืชเช่น จาก ดอก ใบ ราก ผล เปลือกไม้ ยางไม้ หรือเรซิน เป็นต้น อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือได้ว่าสุวคนธบำบัด สามารถรักษาโรคต่างๆได้จริง เมื่อเทียบกับการรักษาด้วยยา แต่อาจส่งผลทางด้านจิตใจซึ่งไปมีผลกระทบต่อระบบการทำงานของร่างกายได้ไม่มาก ก็น้อย
ประวัติความเป็นมา

ชาวอียิปต์เป็นชาติแรกที่รู้จักนำ เครื่องหอมมาใช้ประโยชน์ ส่วนใหญ่ใช้ในพิธีบูชาเทพเจ้า โดยการนำยางไม้หรือเรซินที่มีกลิ่นหอม ได้แก่ แฟรงคินเซนต์ (frankincense) มาเผาเพื่อบูชาเทพเจ้าแห่งอาทิตย์ (Ra) และนำเมอร์ (myrrh) มาเผาเพื่อบูชาเทพเจ้าแห่งพระจันทร์ และพบว่ามีการนำพืชหอมหลายชนิดมาในการเก็บรักษามัมมี่ เช่น อบเชย (cinnamon) เทียนข้าวเปลือก (dill seed) โหระพา (sweet basil) ลูกผักชี (coriander seed) ซึ่งพืชเหล่านี้มีน้ำมันหอมระเหยที่มีคุณสมบัติ ในการฆ่าเชื่อโรคได้ดี ต่อมาชาวกรีกได้นำน้ำมันหอมระเหยมาประยุกต์ใช้ทั้งทางด้านการแพทย์ และเครื่องสำอาง แล้ถ่ายทอดศาสตร์แห่งการใช้กลิ่นบำบัดรักษาโรคแก่ชาวโรมัน ต่อมาชาวโรมันจึงได้นำเครื่องหอมไปใช้ในชีวิตประจำวันและในพิธีกรรม และพัฒนาความรู้นี้ผสมผสานเข้ากับศาสตร์แขนงอื่น เช่น การนวด โดยผสมเครื่องหอมลงในน้ำมันสำหรับทาตัว และนวดตัวหลังอาบน้ำ ผสมเครื่องหอม ลงในอ่างน้ำ ฯลฯ และเมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลายจึงทำให้ไม่มีการใช้น้ำมันหอมระเหยอีก แต่พบหลักฐานว่ามีการนำน้ำมันหอมระเหยมาใช้รักษาโรค ในประเทศแถบอาหรับ อริโซน่า หมอชาวอาหรับ เป็นผู้ค้นพบวิธีการกลั่นน้ำมันหอมระเหยเป็นครั้งแรก และนำหลักการนี้ไปสอนในมหาวิทยาลัยในประเทศสเปน ความรู้ทางด้านน้ำมันหอมระเหยจึงได้แพร่มาสูยุโรป ต่อมา ราเนอ โมริซ กาทฟอส (Rane Maurice Gattefosse) นักเคมีชาวฝรั่งเศสได้ค้นพบประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยโดยบังเอิญ โดยที่ขณะเขาทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ เกิดอุบัติเหตุไฟลวกมือ ด้วยความตกใจจึงเอามือไปปัดถูกขวดน้ำมันลาเวนเดอร์ทำให้น้ำมันลาเวนเดอร์หด รดมือที่ถูกไฟลวกนั้น เขาได้พบว่าแผลไฟลวกที่มือนั้นหายเร็วกว่าปกติ และมีรอยแผลเป็นน้อยมาก จากนั้นเขาจึงเริ่มกันมาสนใจค้นคว้าเกี่ยวกับน้ำมันหอมระเหยชนิดอื่นๆเพิ่ม เติมทั้งประโยชน์ทางด้านการแพทย์และเครื่องสำอางและเป็นผู้บัญญัติศัพท์คำ ว่า Aromatherapy เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1928

ประเภทของสุวคนธบำบัด

สุวคนธบำบัด สามารถแบ่งตามการนำไปใช้ได้ดังนี้

  1. สุว คนธบำบัดสำหรับใช้เป็นเครื่องสำอาง (Cosmetic Aromatherapy) เป็นการใช้น้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในรูปของ ครีมบำรุงผิว โทนเนอร์ แชมพู ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า หรือจะเป็นการใช้น้ำมันหอมระเหยในการอาบน้ำ โดยหยดน้ำมันหอมระเหยประมาณ 6-8 หยดลงในอ่างแช่ตัวประมาณ 20 นาที ความร้อนจากน้ำอุ่นจะช่วยเพิ่มการซึมผ่านผิวหนังและได้สูดดมกลิ่นของน้ำมัน หอมระเหยในขณะเดียวกัน
  2. สุวคนธบำบัดสำหรับการนวด (Massage Aromatherapy) เป็นการนำน้ำมันหอมระเหยมาใช้ในการนวด วิธีนี้เป็นวิธีมีประสิทธิภาพมากเพราะเป็นการใช้น้ำมันหอมระเหยประกอบกับการ นวดสัมผัสทำให้น้ำมันหอมระเหยซึมผ่านผิวหนังได้ดี ปกติแล้วการนวดเพียงอย่างเดียวก็ทำให้เรารู้สึกสบายแล้ว เมื่อได้ผสมผสานกับคุณสมบัติพิเศษของน้ำมันหอมระเหยด้วยแล้ว ยิ่งทำให้การนวดนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วิธีการใช้ก็คือน้ำมันหอมระเหยที่เลือกให้เหมาะกับอาการและอารมณ์ของคนไข้มา เจือจางด้วย carrier oil ปริมาณหอมระเหยที่ใช้จะอยู่ระหว่าง 1-3 % การนวดอาจจะนวดทั้งตัวหรือเฉพาะส่วนของร่างกายที่ทำให้ไม่สบาย เช่น การใช้น้ำมันสะระแหน่ที่เจือจางแล้วนวดท้องตาม
  3. สุวคนธบำบัด สำหรับการสูดดม (Olfactory Aromatherapy) เป็นการสูดดมกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยโดยไม่มีการสัมผัสผ่านผิวหนัง แบ่งเป็น 2 กรณีคือการสูดดมน้ำมันหอมระเหยโดยตรง (Inhalation) และการผสมน้ำมันหอมระเหยลงในน้ำร้อนแล้วสูดไอของน้ำมันหอมระเหยนั้น (Vaporization) วิธีการสูดน้ำมันหอมระเหยโดยตรง สามารถทำได้ง่ายๆก็คือ หยดน้ำสมันหอมระเหย 1-2 หยดลงบนผ้าเช็ดหน้า แล้วสูดดมเช่นเดียวกับที่คนไทยนิยมสูดดมน้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันการบูรเพื่อบรรเทาอาการหวัด ส่วนวิธีสูดดมไอของน้ำมันหอมระเหยนั้นทำได้หลายวิธีเช่น หยดน้ำมันหอมระเหย 2-3 หยดลงในชามที่ใส่น้ำอุ่น ใช้ผ้าคลุมศีรษะและชามแล้วก้มลงสูดดมไอระเหยนั้น พักเป็นระยะๆ วิธีไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีผิวบอบบาง และผู้ที่เป็นหอบหืด หรืออีกวิธีหนึ่งอาจใช้เตาหอม (aroma lamp) ลักษณะเป็นภาชนะดินเผาหรือเซรามิค ด้านบนเป็นแอ่งเล็กๆสำหรับในใส่น้ำและมีช่องด้านล่างสำหรับใส่เทียนเพื่อให้ ความร้อน เวลาใช้หยดน้ำมันหอมระเหยลงในน้ำ เมื่อน้ำร้อนจะช่วยส่งกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยให้ฟุ้งกระจายไปทั่งห้อง นอกจากนี้ยังมีวิธีการใช้ในรูปแบบอื่นๆอีก เช่น ธูปหอม เทียนหอม เป็นต้น

ข้อแนะนำถึงวิธีการใช้น้ำมันหอมระเหยทางสุวคนธบำบัด แบ่งออกเป็น 6 วิธี

วิธี ที่ 1 โดยการใช้น้ำมันหอมระเหยผสมกับน้ำ แช่ตัวในอ่างอาบน้ำ วิธีนี้ให้เติมน้ำมันหอมระเหยลงในน้ำอุ่น ที่รองเก็บไว้ในอ่างอาบน้ำ หลังจากนั้นก็กวนให้เข้ากัน ปิดประตูห้องน้ำให้สนิท เพื่อป้องกันไม่ให้กลิ่นระเหยออกไป หลังจากนั้นก็ลงไปแช่ตัวในอ่างอาบน้ำประมาณ 10 นาที พร้อมกันนั้นให้หายใจลึกเพื่อสูดกลิ่นหอมนั้นเข้าไป

วิธีที่ 2 ใช้ในเวลาโดยการตักอาบ หรืออาบจากฝักบัว : วิธีนี้ให้ใช้หยดหรือเทน้ำมันหอมระเหยลงบนผ้า หรือฟองน้ำ หรือลูกบวบที่ใช้ถูตัว ที่เปียกน้ำหมาดๆแล้วถูตัวหลังจากอาบน้ำสะอาดแล้ว

วิธี ที่ 3 ใช้ในการนวดตัว (body massage) : วิธีใช้ นำน้ำมันหอมระเหยที่ผสมกับ base oils (น้ำมัน) เรียบร้อยแล้วมานวดตัว บริเวณที่นวดกันมากได้แก่บริเวณรอบคอ หัวไหล่ วิธีนวดให้ใช้หัวแม่มือ หรือ ฝ่ามือทั้งสองข้าง นวดจากไหล่ไปคอ แล้ววนกลับมาที่บริเวณแขนหรือที่บริเวณหลัง โดยให้หลีกเลี่ยงการนวดบนสันหลัง ให้นวดพร้อมกันทั้งมือ นวดขึ้นไปถึงหัวไหล่ และกดลงมา การนวดบริเวณหน้าท้อง ใช้ฝ่ามือนวดหมุนตามเข็มนาฬิกา การนวดบริเวณขา และเท้าให้นวดจากต้นขาลงถึงเท้า สำหรับสตรีที่ปวดหลังให้นวดจากด้านหลังแล้วอ้อมมาที่สะโพกมายังหน้าท้อง หรือควรจะปรึกษานักกายภาพบำบัด

วิธีที่ 4 การประคบเย็น (Compressed) : ผสมน้ำมันหอมระเหยลงในตัวนำพา ที่เป็นน้ำสะอาดหรือน้ำมันดอกไม้ที่แช่เย็น หลังจากนั้นกวนให้เข้ากัน ใช้ผ้าจุ่มลงไปในน้ำบิดให้หมาดๆแล้วจึงนำมาประกบตามจุดที่ต้องการ

วิธี ที่ 5 การสูดดม (Inhalation) : ห้ามสูดดมโดยตรงจากขวดหรือภาชนะที่บรรจุน้ำมันหอมระเหย เพราะจะทำเกิดอต่อระบบทางเดินหายใจ ต้องนำไปผสมให้เจือจางเสียก่อน

วิธีที่จะสูดดมมี 2 วิธีด้วยกันคือ

  • ให้หยดน้ำมันลงบนกระดาษทิชชู หรือ ผ้าเช็ดหน้า จำนวน 1 หยด แล้วจึงนำมาสูดดม
  • ถ้านำมาผสมกับ base oils เรียบร้อยแล้วก็สามารถสูดดมได้โดยตรง หรือจะหยดลงบนผ้าเช็ดหน้าก็ได้แต่จะทำให้ผ้าเช็ดหน้าเปื้อนมัน

วิธี ที่ 6 การพ่นละอองฝอยในห้อง (Room sprays) : น้ำมันหอมระเหยมาผสมกับน้ำอุ่นๆไม่เกิน 40 เซลเซียส เขย่าให้เข้ากัน แล้วนำมาบรรจุในภาชนะที่มีหัวฉีดพ่นละออง แล้วนำมาพ่นตามความต้องการ

เอกสารอ้างอิง
1. ลลิตา วีระเสถียร.2541.การบำบัดด้วยความหอม .ศรีนครินทรวิโรฒเภสัชสาร.2541;23(1):52-57
2. พิมพร ลีลาพรพิสิฐ.2545.สุวคนธบำบัด.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. ประคองสิริ บุญคง.สุวคนธบำบัด.ส่วนวิจัยอุตสาหกรรมเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ องค์การเภสัชกรรม
4. http://www.gpo.or.th/rdi/html/aroma2.html
5. http://www.tistr.or.th/pharma/Aroma_intro.htm
6. http://www.tistr.or.th/pharma/Aroma_class.htm
7. http://healthnet.md.chula.ac.th/text/forum2/sukon/sukontha_2.htm

สำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ
กรมวิทยาศาสตร์บริการ
โทร 0 2201 7132
e-mail : kijtasak@dss.go.th
พฤษภาคม 2551

: กาย
: บทความ
: สุขภาพดี
: สุวคนธบำบัด
พรรณภัทร 04 พ.ย. 2552 04 พ.ย. 2552
ความคิดเห็น (4)

ผมชอบกลิ่นน้ำปรุงครับ หอมดี เป็นน้ำหอมจากภูมิปัญญาไทย ปลอดภัยแน่นอนครับ

Natthapol 04 พฤศจิกายน 2552 - 14:14 (#435)

ชอบกลิ่นหญ้าค่ะ
โดยเฉพาะเวลาที่เขาตัดหญ้า
กลิ่นมันสดชื่นบอกไม่ถูก

กุ้งนาง (202.12.73.5) 04 พฤศจิกายน 2552 - 17:09 (#436)

ดีน่ะที่กลิ่นหญ้า ถ้าชอบกินหญ้า เนี่ยฮาเลย

ชินภัช (61.19.67.36) 05 พฤศจิกายน 2552 - 09:13 (#440)

อย่างนี้ต้องไปสปาบ้างแล้วละ :D

ิวิว (222.123.182.185) 10 พฤศจิกายน 2552 - 16:17 (#468)

No comments:

Post a Comment