Wednesday, January 6, 2010

กระเทาะเปลือก น้ำมันหอมระเหย

กระเทาะเปลือก น้ำมันหอมระเหย

น้ำมัน หอมระเหย (essential oil) เป็นสารอินทรีย์ที่พืชสร้างขึ้น มักมีกลิ่นหอม ระเหยง่าย โดยพืชเหล่านี้จะมีเซลล์พิเศษ ต่อมหรือท่อ เพื่อสร้างและกักเก็บน้ำมันหอมระเหย น้ำมันหอมระเหยพบได้ตามส่วนต่างๆ ของพืช ได้แก่ ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เมล็ด กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยในส่วนของดอกไม้ มีบทบาทสำคัญในการช่วยดึงดูดแมลงมาผสมเกสร แต่สำหรับน้ำมันหอมระเหยในส่วนอื่นๆ ของพืช เชื่อว่ามีผลในการป้องกันตนเองจากศัตรูภายนอก ที่จะมาทำลายพืชนั้นๆ รวมทั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคพืช นอกจากนี้ยังมีน้ำมันหอมระเหยจากสัตว์ที่รู้จักกันดีมีอยู่ 4 ชนิด ได้แก่ กลิ่นจาก civet (zebeth) กลิ่นจาก castroreum ซึ่งเป็นสิ่งขับถ่ายจากกระเปาะใกล้อวัยวะสืบพันธ์ ของตัวชะมดและตัวนาก ตามลำดับ กลิ่นจากอำพันทอง (ambergris) ที่ได้จากสำรอกของปลาวาฬหัวทุย และกลิ่นจาก musk ซึ่งเป็นผงไขมันแข็ง สีคล้ำ อยู่ภายในกระเปาะที่เป็นถุงหนังของกวางภูเขา แต่น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากสัตว์นี้จะมีราคาแพงมาก และมีการต่อต้านการใช้เนื่องจากต้องคร่าชีวิตสัตว์จึงจะได้มา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาวาฬหัวทุย และกวางภูเขา

น้ำมันหอมระเหยเข้า มาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราอยู่เสมอ มีประโยชน์ใช้แต่งกลิ่นในอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ เช่น ซุป ลูกกวาด เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์นม ในอุตสาหกรรมน้ำหอมจะใช้วัตถุดิบจากส่วนต่างๆ ของพืช เช่น จากส่วนดอกนำมาทำเป็นน้ำมันกุหลาบ น้ำมันกระดังงา น้ำมันมะลิ จากส่วนใบนำมาทำเป็นน้ำมันเจอราเนียม น้ำมันโรสแมรี น้ำมันเบอร์กามอท จากส่วนเมล็ดนำมาทำเป็นน้ำมันอัลมอนด์ จากส่วนเปลือกนำมาทำเป็นน้ำมันสน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมและเภสัชภัณฑ์ต่างๆ เช่น น้ำมันกานพลู สามารถฆ่าเชื้อโรคได้จึงนำมาใช้ผสมในน้ำยาบ้วนปาก น้ำมันยูคาลิปตัสใช้แก้หวัดน้ำมันไพล ใช้แก้อาการปอดบวมปกช้ำ น้ำมันเปปเปอร์มินต์ ใช้ขับลมและแต่งกลิ่นยาเป็นต้น

กรรมวิธีการนำน้ำมันหอมระเหยจากพืชได้มาจากกระบวนการทางเคมี 5 วิธีดังนี้

  1. การก ลั่น เป็นวิธีที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายเนื่องจากเป็นวิธีที่ประหยัด โดยการให้ไอน้ำผ่านพืชสมุนไพรที่จะสกัดน้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในหม้อกลั่น น้ำมันหมอระเหยจะแยกตัวออกจากชั้นน้ำ ทำให้สามารถที่จะนำออกมาใช้ได้ง่าย น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้โดยวิธีนี้ได้แก่ น้ำมันไพล น้ำมันตะไคร้ เป็นต้น
  2. การ สกัดด้วยน้ำมันสัตว์ วิธีนี้เหมาะสำหรับการสกัดน้ำมันหมอระเหยจากดอกไม้กลีบบาง เช่น ดอกมะลิ ดอกกุหลาบ เป็นต้น วิธีการคือ แช่พืชสมุนไพรไว้ในน้ำมันสัตว์ (นิยมใช้ไขวัว) หลายวันเพื่อให้น้ำมันดูดกลิ่นหอมออกมา น้ำมันจะดูดซับกลิ่นหมอไว้ จากนั้นใช้ตัวทำละลายสกัดน้ำมันหอมระเหยออกจากน้ำมันสัตว์ แล้วนำไประเหยไล่ตัวทำละลายออก ข้อเสียคือใช้เวลานาน
  3. การสกัด ด้วยสารเคมี วิธีนี้จะใช้กับพืชสมุนไพรที่ทนความร้อนสูงไม่ได้ เช่น มะลิ การสกัดแบบนี้จะได้น้ำมันหอมระเหยที่เรียกว่า absolute oil และหลังจากการสกัดต้องระเหยสารละลายที่ใช้เป็นตัวสกัดออกให้หมด ซึ่งสารละลายที่นิยมใช้เป็นตัวสกัดคือ แอลกอฮอล์ วิธีนี้จะได้น้ำมันหอมระเหยและกลิ่นออกมา แต่น้ำมันหอมระเหยที่ได้จะมีปริมาณน้อยและไม่บริสุทธิ์
  4. การคั้น หรือบี วิธีนี้มักใช้กับเปลือกผลไม้ตระกูลส้ม เช่น ส้ม มะนาว มะกรูด วิธีการคือนำเปลือกของผลไม้มาบีบ จะทำให้เซลล์กระเปาะที่เก็บน้ำมันหอมระเหยแตกออก และปลดปล่อยน้ำมันหอมระเหยและกลิ่นออกมาก แต่น้ำมันหอมระเหยที่ได้จะมีปริมาณน้อยและไม่บริสุทธิ์
  5. การสกัด ด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เหลว เป็นเทคนิคใหม่ เหมาะสำหรับการสกัดสารที่สลายตัวง่ายเมื่อถูกความร้อน วิธีการคือปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เหลว ที่ความดันสูงผ่านพืชสมุนไพร ซึ่งวิธีนี้จะมีต้นทุนการผลิตที่สูง แต่จะได้น้ำมันหอมระเหยที่มีคุณภาพดีและมีความบริสุทธิ์สูง

สรรพคุณของน้ำมันหอมระเหย

  1. ทาง ผิวหนัง ระงับเชื้อจากบาดแผล แมลงกัดต่อย เช่น น้ำมันไทม์ น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันกานพลู และน้ำมันลาเวนเดอร์สร้างเนื้อเยื้อสมานแผล เช่นน้ำมันลาเวนเดอร์ น้ำมันกุหลาบและน้ำมันเจอราเนียม ระงับกลิ่นสำหรับผู้ที่มีเหงื่อออกมาก ทำความสะอาดบาดแผล เช่น น้ำมันลาเวนดอร์ น้ำมั้นไทม์และน้ำมันตะไคร้
  2. ระบบการไหลเวียน กล้ามเนื้อและข้อต่อ ลดความดันโลหิต ความเครียด เช่น น้ำมันกระดังงา น้ำมันลาเวนเดอร์ ปรับการไหลเวียนของโลหิต สำหรับแก้บวม อักเสบ เช่นน้ำมะนาว
  3. ระบบหายใจ ขับเสมหะ สำหรับหวัด ไซนัส ไอ เช่น น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันสน น้ำมั้นไม้จันทน์ คลายกล้ามเนื้อกระตุกในโรคหืด ไอกรน เช่น น้ำมันเขียว น้ำมันแคโมมิลล์
  4. ระบบประสาท ช่วยให้สงบระงับ เช่น น้ำมันไม้จันทน์ น้ำมันมะกรูด น้ำมันลาเวนเดอร์ ช่วยกระตุ้นประสาท เช่น น้ำมันมะลิ น้ำมันกานพลู น้ำมันสะระแหน่

ข้อควรระวังในการใช้น้ำมันหมอระเหย

  1. ควรเจือจางน้ำมันหมอระเหยก่อนใช้ ไม้ควรให้สัมผัสบริเวณรอบดวงตาและผิวที่อ่อนบาง
  2. ก่อนใช้น้ำมันหอมระเหยควรทดสอบว่าเกิดอาการแพ้หรือไม่
  3. น้ำมัน หอมระเหยบางชนิดทำให้ผิวหนังมีความไวต่อแสดงแดดมากขึ้น เช่นน้ำมันมะกรูด น้ำมันมะนาว จึงควรหลีบเหลี้ยงการถูกแสงแดดหลังจากใช้อย่างน้อย 4 ชั่วโมง
  4. สตรี ระหว่างตั้งครรภ์หลีบกเลี่ยงน้ำมันหอมระเหยต่อไปนี้ คือ น้ำมันโหระพา น้ำมันกานพลู น้ำมันเปปเปอร์มินต์ น้ำมันกุหลาบ น้ำมันโรสรี่ น้ำมันไทม์ น้ำมันจาร์โจแรม น้ำมันวินเทอร์กรีน และน้ำมันเมอร์
  5. ผู้ที่เป็นโรคลมชักและผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงน้ำมันโรสรี่ น้ำมันเซจ
  6. ควรเก็บน้ำมันหอมระเหยในขวดสีชา ในที่ปลอดภัยห่างจากมือเด็กและเปลวไฟ
  7. ไม่ควรรับประทาน เว้นแต่ได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์
: กาย
: บทความ
: สุขภาพดี
พรรณภัทร 04 ม.ค. 2553 05 ม.ค. 2553

No comments:

Post a Comment